บทความ
NFT Marketplace คืออะไร อยากเป็นเจ้าของ NFT เริ่มต้นที่นี่
สำหรับใครที่กำลังสนใจอยากสะสมหรือลงทุนใน NFT แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มที่ไหนดี หรือใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน NFT มาหาคำตอบว่า NFT Marketplace คืออะไร ได้ที่บทความนี้เลย
รู้จัก NFT Marketplace คืออะไร?
NFT Marketplace หรือ ตลาด NFT คือแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย NFT (Non-Fungible Token) ด้วยคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลได้
ตลาด NFT สร้างขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยที่แต่ละบล็อกเชนก็จะมี NFT Marketplace เป็นของตัวเอง เช่น X2Y2 บน Ethereum, Magic Eden บน Solana, MegaLand บน Bitkub Chain, บางแพลตฟอร์มก็รองรับหลายบล็อกเชน เช่น Opensea ที่รองรับทั้ง Ethereum, Polygon, และ Solana เป็นต้น
ผู้ใช้ยังสามารถนำผลงานของตนมาเปลี่ยนเป็น NFT โดยเสียค่าธรรมเนียมเป็นเหรียญของเครือข่ายที่ต้องการให้ NFT ของเราไปอยู่บนนั้น โดยการซื้อขาย NFT สามารถซื้อขายได้ทั้งแบบซื้อขายทันที (Buy now) หรือแบบประมูล (Auction)
ตลาด NFT ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ Primary Market และ Secondary Market โดยมีจุดที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.Primary Market คือตลาดที่ผู้สร้างขายผลงานให้กับผู้ซื้อหรือนักสะสมโดยตรง
2.Secondary Market คือตลาดที่นักสะสมหรือผู้ที่ซื้อ NFT มาจาก Primary Market สามารถนำผลงานมาขายต่อให้กับคนที่สนใจได้
NFT Marketplace ที่นักเทรดนิยมใช้มีอะไรบ้าง?
1.OpenSea
NFT Marketplace ที่ใหญ่ที่สุด ณ ปัจจุบัน โดยมีมูลค่าการซื้อขาย NFT สูงถึง 492 ล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก DappRadar ณ วันที่ 25 ส.ค. 2022) นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มที่รองรับหลายเครือข่ายแล้ว ยังมีหมวดหมู่ NFT ให้เลือกซื้อขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะ ดนตรี ไอเทมในเกม ที่ดิน Metaverse และอีกมากมาย
เครือข่ายที่รองรับ: Ethereum, Polygon, Solana
2.Magic Eden
ตลาด NFT บน Solana ที่มีมูลค่าการซื้อขายติดอันดับ Top 3 ที่ 61 ล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก DappRadar ณ วันที่ 25 ส.ค. 2022) โดย Magic Eden มีจุดเด่นที่ค่าธรรมเนียมสำหรับการ Listing ที่ 0% และเนื่องจากสร้างบน Solana ทำให้มีความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงมากเมื่อเทียบเครือข่ายอื่น ๆ
เครือข่ายที่รองรับ: Solana
ข้อแนะนำในการเลือกใช้ NFT Marketplace
1.NFT สร้างอยู่บนเครือข่ายอะไร
สำหรับผู้ที่สนใจซื้อหรือขาย NFT อันดับแรกต้องดูก่อนว่า NFT ที่เราสนใจอยู่บนเครือข่ายอะไร จากนั้นจึงค่อยเลือกแพลตฟอร์มที่รองรับเครือข่ายนั้น
2.เตรียมเหรียญให้ตรงกับเครือข่าย
โดยส่วนมาก การซื้อขาย NFT จะใช้เหรียญที่เป็นของเครือข่ายนั้น ๆ เช่น ถ้า NFT สร้างบน Ethereum ก็จะใช้เหรียญ Ethereum หรือถ้าสร้างขึ้นบน Bitkub Chain ก็จะใช้เหรียญ KUB เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องค่า Gas Fee และค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายด้วย ดังนั้นจึงควรเตรียมเหรียญในกระเป๋าให้เหมาะสมด้วย
3.ระวังการปั่นราคา
หากเราลองเล่น NFT Marketplace ดู บ่อยครั้งเราอาจเจอ NFT บางชิ้นถูกวางขายในราคาที่สูงแบบแปลก ๆ อย่าง 9,999,999 ETH ซึ่งเป็นเพราะผู้ขาย NFT สามารถกำหนดราคาขายได้เอง เราจึงควรพิจารณาให้ดีว่าราคาขายดังกล่าวเหมาะสมแล้วหรือไม่ โดยพิจารณาจากความหายากและประโยชน์ใช้สอยของ NFT ชิ้นนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ
สรุป
NFT Marketplace หรือ ตลาด NFT คือแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย NFT ด้วยคริปโทเคอร์เรนซีได้ โดยจะมีทั้งแบบ Primary Market ที่เป็นการซื้อผลงานจากผู้สร้างโดยตรง และ Secondary Market ที่นำ NFT มาขายต่อให้กับคนที่สนใจ
นอกจากนี้ แต่ละตลาดจะรองรับเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกัน เช่น Opensea ที่รองรับทั้ง Ethereum, Polygon, Solana หรือ Magic Eden ที่รองรับ Solana เป็นต้น ทำการซื้อขาย NFT ผ่านตลาดเหล่านี้จะซื้อขายกันด้วยสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นของเครือข่ายนั้น ๆ
_________________________________________
บทความ Bitkub Blog ที่คุณอาจสนใจ
รู้จัก NFT สินทรัพย์ประเภทใหม่จากเทคโนโลยีบล็อกเชน
รู้จัก Ethereum คริปโทที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
รู้จักกับเหรียญ SOL บล็อกเชนที่เร็วในระดับเสี้ยววินาที
รู้จัก MATIC หนึ่งใน Layer 2 ของ Ethereum ที่มาแรง
_________________________________________
มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog
หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่”
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”
ที่มา:
Medium