บทความ
อะไรคือ Digital Token ? ทำไมถึงนิยมขึ้นเรื่อยๆ
ตอบคำถาม Digital Token คืออะไร? ใช่สินทรัพย์ยุคใหม่ที่น่าลงทุนหรือไม่?
ในยุคที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังถดถอยจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกเมื่อไร นี่จึงเป็นเหมือนชนวนที่จุดประกายให้หลายคนหันมาสนใจลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) แทนการลงทุนแบบเดิมๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Digital Token ที่นับวันยิ่งได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ เราจึงหยิบทุกประเด็นสำคัญที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มลงทุนไว้ในบทความนี้
Digital Token คืออะไร?
โทเคนดิจิทัล (Digital Token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดโอกาสให้บริษัทกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของบุคคลในการแลกเปลี่ยนเงินจริง สินค้า บริการ และสิทธิในการร่วมลงทุน (Investment Token) ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่คล้ายกับหุ้นทั่วไป ซึ่งการซื้อขายโทเคนคือการระดมทุนแบบ Initial Coin Offering ที่จะต้องอยู่ภายใต้ Smart Contract บนเทคโนโลยีบล็อกเชน
โทเคนดิจิทัลแบ่งได้ 2 ประเภท
ตามนิยามกฎหมาย พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เราสามารถแบ่งประเภทของโทเคนดิจิทัลได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
1.โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token)
โทเคนประเภทนี้จะบอกสิทธิประโยชน์ทั้งหมดของผู้ถือโทเคนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ถือโทเคนได้รับการบริการหรือแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงินสดตามเงื่อนไขของเหรียญนั้นๆ เช่น ใช้เหรียญโทเคนนี้แลกเปลี่ยนการบริการต่างๆ ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เหรียญ JFIN ที่ใช้กันภายในเครือบริษัทของ JMART group เท่านั้น
2.โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)
โทเคนประเภทนี้จะคล้ายกับการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ถือโทเคนจะได้รับผลประโยชน์ต่างๆ จากการถือโทเคนตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ส่วนแบ่งกำไร
รู้จักการระดมทุนแบบ Initial Coin Offering
โทเคนดิจิทัลถูกขับเคลื่อนด้วยระบบบล็อกเชนแบบ Initial Coin Offering โดยบริษัทจะเสนอและกำหนดขายโทเคนที่กำหนดสิทธิหรือผลประโยชน์ต่างๆ ของนักลงทุนไว้ เช่น ส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิด้านการบริการ ที่กำหนดให้ผู้ร่วมลงทุนนำเหรียญดิจิทัลหรือเงินมาแลกโทเคนกับบริษัทนั้นๆ ได้ภายใต้ Smart Contract
เมื่อมองผิวเผิน โทเคนดิจิทัลอาจมีส่วนคล้ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทั่วไป แต่ความจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ผลประโยชน์ที่ผู้ร่วมลงทุนจะได้รับ เพราะผู้ลงทุนโทเคนจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขในเอกสารประกอบการเสนอขาย (White Paper) แต่จะไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทเมื่อเลิกกิจการหรือล้มละลาย
ไขข้อแตกต่างระหว่าง Digital Token และ Cryptocurrency
รู้หรือไม่? แม้โทเคนและคริปโทมีสถานะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเหมือนกัน แต่ก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มาลองทำความเข้าใจความเหมือนที่แตกต่างของทั้งสองสินทรัพย์นี้ตามตารางนี้
Digital Token
-ใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินจริง (Fiat Money) สินค้า และบริการ
-เหมาะกับการเก็งกำไรในระยะยาว
-ผู้ร่วมลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งกำไรและผลประโยชน์อื่นๆ จากบริษัทที่ขายโทเคนให้ตามที่กำหนดไว้ (Utility Token)
Cryptocurrency
-ใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินจริง (Fiat Money) สินค้า และบริการ
-เหมาะกับการเก็งกำไรได้ทั้งระยะสั้นและยาว
Digital Token มีผลตอบแทนและความเสี่ยงสูงแค่ไหน?
แม้โทเคนดิจิทัลจะได้รับการรับรองตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในการลงทุนและยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย จึงต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดดิจิทัลแบบเจาะลึกก่อนการลงทุนเสมอ
คุณสามารถลงทุนในโทเคนกับศูนย์ซื้อขายดิจิทัล (Digital Asset Exchange), โบรกเกอร์สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Dealer) ต่างๆ ที่ได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. แล้วได้อย่างสบายใจ แต่ก็ควรระวังพวกมิจฉาชีพ (Scam) ที่ไม่ผ่านการรับรองมาหลอกเอาเงินของคุณไปด้วยเช่นกัน
5 สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ ก่อนลงทุนในโทเคนดิจิทัล
1.Smart Contact ต้องมีข้อมูลตรงกับ White Paper ซึ่งผ่านการตรวจสอบจาก Initial Coin Offering Portal
2.บริษัทที่เสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. แล้วเท่านั้น เพราะหากไม่ได้รับการรับรองนี้ การลงทุนของคุณก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองเช่นกัน
3.ควรอัปเดตข่าวสารจากสำนักงาน ก.ล.ต. อย่างต่อเนื่อง เพราะการลงทุนในเหรียญดิจิทัลในไทยทุกรูปแบบจะต้องผ่านการรับรองจากสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น
4.ควรเลือกลงทุนในโทเคนที่เหมาะกับตัวเองด้วยการลงทุนครั้งละน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ ลงทุนเพิ่มเมื่อคุณเข้าใจกลไกตลาดดิจิทัลมากขึ้น
แม้การลงทุนในโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูงตามความผันผวนของตลาดดิจิทัล แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการหมั่นอัปเดตความรู้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับการลงทุนด้วยความรอบคอบและไม่โลภจนเกินไป คุณจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการอัปเดตความรู้ใหม่ๆ จะได้ไม่พลาดท่าเสียเงินก้อนโตไปแบบไม่รู้ตัว
ที่มา:
Medium