รู้จัก RNDR (RenderToken) เหรียญที่ให้คุณยืมพลังประมวลผลกราฟิก
ในการสร้างสื่อดิจิทัลทุกวันนี้ กราฟิกเป็นสิ่งทุกคนจะเห็นเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือภาพยนต์ แต่การที่จะสร้างกราฟิกในระดับนั้นได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือคอมพิวเตอร์ที่จะมาเรนเดอร์ (Render) หรือสร้างกราฟิกเหล่านั้นขึ้นมา ยิ่งเป็นกราฟิกที่สมจริงหรือสวยงามมากเท่าไหร่ก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ใช่ศิลปินทุกคนจะสามารถเข้าถึงพลังประมวลผลระดับนั้นได้
ข้อจำกัดนี้ได้ทำให้เกิดโปรเจกต์ Render Network ขึ้นมา ซึ่งจะเข้ามาเป็นระบบที่ทำให้เหล่าศิลปินสามารถ “ยืม” พลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาใช้กับงานของพวกเขาได้ และในบทความนี้ Bitkub Blog จะมาสรุปให้ว่า Render Network คืออะไร ใครเป็นผู้สร้าง และโทเคน RNDR มีไว้ทำอะไร
Render Network คืออะไร?
Render Network เป็นเครือข่ายสำหรับการยืมและปล่อยเช่าพลังในการประมวลผลกราฟิก (Graphics Processing) แบบกระจายอำนาจ โดยมีโทเคน RNDR ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum เป็นโทเคนประจำเครือข่าย
Render Network เริ่มทำงานครั้งแรกในปี 2017 พร้อมวิสัยทัศน์ที่จะเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่การประมวลขั้นพื้นฐานไปจนถึงการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ทีมผู้ก่อตั้งมีมุมมองว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่องเมื่อเจ้าของใช้งานเสร็จแล้วเครื่องก็จะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร หรือ GPU บางเครื่องก็ถูกนำไปใช้ขุดคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมาแต่แรก ทำไมจึงไม่ทำให้ผู้คนสามารถนำพลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์ไปให้คนที่ต้องการยืมแทนล่ะ? Render Network จึงมาเชื่อมต่อทั้งผู้ยืมและผู้เช่าเข้าหากัน เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอุปสงค์-อุปทานของพลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั่วโลกขึ้นมา และยังสามารถลดต้นทุนในการเรนเดอร์กราฟิกลงไปได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการหาคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่มาใช้เอง
Render Network เข้ามาแก้ปัญหาอะไร?
ทุกวันนี้เราน่าจะคุ้นเคยกับสื่อดิจิทัลกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่ภาพบนอินเทอร์เน็ต คลิปวิดีโอ เกม เอฟเฟคพิเศษในภาพยนต์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic) และต้องใช้คอมพิวเตอร์แรง ๆ ช่วยประมวลผลออกมา
แต่การที่จะได้คอมพิวเตอร์แรง ๆ มาสักเครื่องจำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่สูง ยิ่งต้องการกราฟิกที่มีสเกลใหญ่และอลังการเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น Render Network จึงเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหา โดยมี 3 จุดสำคัญที่ Render Network เข้ามาแก้ไขดังต่อไปนี้
1.พลังประมวลผลที่ไร้ขีดจำกัด: Render Network เปิดกว้างให้คนที่เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานทั่วไปหรือคอมพิวเตอร์เล่นเกมก็สามารถนำพลังประมวลผลที่ไม่ได้ใช้มาปล่อยเช่าได้ นั่นหมายความว่าผู้ที่ต้องการยืมพลังประมวลผลเยอะ ๆ เช่น บริษัท หรือสตูดิโอที่สร้างแอนิเมชัน สามารถยืมพลังประมวลผลเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ
2.ทางเลือกที่มากกว่า: Render Network ยังช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับทั้งผู้ปล่อยเช่าและผู้เช่า โดยผู้ปล่อยเช่าจะได้รับทางเลือกในการสร้างรายได้ผ่านการปล่อยพลังประมวลผลให้คนที่ต้องการใช้ ส่วนผู้เช่าซึ่งส่วนมากมักเป็นศิลปินหรือบริษัทที่ทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ไม่มีต้องการที่จะลงทุนระยะยาวกับการหาคอมพิวเตอร์แรง ๆ มาใช้เอง ก็ใช้งาน Render Network จึงเป็นทางเลือกที่กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถเข้าถึงพลังประมวลผลได้ พร้อม ๆ กับลดต้นทุนลงไปได้อีกด้วย
3.ความโปร่งใส: ด้วยการที่ Render Network เป็นระบบที่ถูกสร้างบนพื้นฐานของบล็อกเชน จึงทำให้มีความโปร่งใสสูง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยืมพลังประมวลผลได้ เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ปล่อยเช่า โดยดูจากผลงานที่เคยทำสำเร็จแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ Render Network ยังมีระบบช่วยจัดอันดับผู้ปล่อยเช่าตามความน่าเชื่อถืออีกด้วย จึงสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ต้องการเช่าได้
RNDR คืออะไร?
RNDR หรือ RenderToken เป็นโทเคนดิจิทัลประจำ Render Network โดยมีหน้าที่สำคัญคือการเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนบนเครือข่าย ผู้ที่ต้องการยืมการประมวลผลจะต้องจ่ายผู้ปล่อยเช่าเป็น RNDR ผู้ที่ปล่อยเช่าก็จะได้ผลตอบแทนเป็น RNDR นั่นเอง
โทเคน RNDR ถูกสร้างมาให้จำนวนจำกัดที่ 536,870,912 RNDR ถูกปล่อยออกมาครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี 2017 ผ่านการขายแบบสาธารณะ (Public token sale) จากนั้นในเดือนมกราคม ปี 2018 จนถึง พฤษภาคม 2018 โทเคน RNDR คิดเป็นสัดส่วน 25% ก็ถูกขายให้กับสาธารณะ 10% ถูกโอนไปเก็บไว้ในคลังสำรอง และอีก 65% ถูกเก็บในระบบ Escrow เพื่อช่วยปรับสมดุลอุปสงค์-อุปทานของโทเคนบน Render Network
ใครคือผู้สร้าง RNDR
Jules Urbach คือผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Render Network ซึ่งเขาเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับแนวหน้าของวงการคอมพิวเตอร์กราฟิก สตรีมมิ่ง และคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยมีสิทธิบัตรมากกว่า 70 ใบและมีประสบการณ์ในวงการมากกว่า 25 ปี
Jules ยังเป็น CEO ของ OTOY บริษัทที่ชนะรางวัล Academy-Award ในสาขา GPU cloud graphics และเทคโนโลยี CGI อีกด้วย
สรุป
Render Network เป็นเครือข่ายสำหรับการยืมและปล่อยเช่าพลังในการประมวลผลกราฟิก โดยมีโทเคน RNDR เป็นโทเคนประจำเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นค่าใช้จ่ายในการยืมและเป็นรางวัลให้ผู้ปล่อยเช่า
Render Network มีวิสัยทัศน์ต้องการทำให้ศิลปินหรือสตูดิโอสามารถเข้าถึงพลังประมวลผลกราฟิกแรง ๆ ได้โดยใช้ต้นทุนที่ลดลง ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างรายได้เสริมได้ผ่านการปล่อยพลังในการประมวลผลให้ผู้ที่ต้องการเช่า
อ้างอิง Render Network, Coinmarketcap
_________________________________________
_________________________________________
มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog
หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่”
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”
_________________________________________
Introducing RNDR (RenderToken), the coin that helps you lend graphic processing power.
Today’s digital media creation, graphics are what everyone sees first, whether it’s still images, motion graphics, video games, or movies. However, to create graphics at that level, an indispensable element is the computer that will render or generate these graphics. The more realistic or beautiful the graphics, the more powerful the processing capabilities of the computer need to be. But not every artist can access that level of processing power.
This limitation has led to the creation of the Render Network project. It aims to be a system that allows artists to “borrow’’ computational power from computers around the world to use for their work. In this article, Bitkub Blog will summarize what Render Network is, who the creators are, and what the RNDR tokens are used for.
What is Render Network?
Render Network is a decentralized network for borrowing and renting graphics processing power. It utilizes the RNDR tokens, which are built on the Ethereum blockchain, as the network’s native cryptocurrency.
Render Network was initiated in 2017 with a vision to create a network that supports a wide range of computational tasks, from basic processing to artificial intelligence (AI) operations. The founding team saw that some computers, once their owners were done using them, would remain idle without much purpose. Similarly, some GPUs were being used for cryptocurrency mining instead of their intended purposes. So, why not allow people to lend their computer’s processing power to those who need it? This is where Render Network comes in, connecting both lenders and borrowers. It creates an economy where computational power is shared globally, helping to lower the costs of graphics rendering significantly compared to acquiring new computing resources.
The network envisions a comprehensive ecosystem that not only benefits from unused processing power but also facilitates efficient and cost-effective graphics rendering for various digital media applications.
What problem does Render Network address?
Today, we are well acquainted with digital media, including images on the internet, video clips, games, and special effects in movies. All of these rely on computer graphics and require substantial computing power for processing.
However, acquiring high-performance computers comes with significant costs. The more complex and detailed the graphics, the more expensive the rendering process becomes. Render Network was established to tackle this issue and offers solutions in the following three key areas:
1.Limitless Processing Power: Render Network opens up participation to anyone who owns a computer. Whether it’s a regular work computer or a gaming rig, individuals can lend their unused processing power. This means that those who require substantial processing power, like animation studios or companies producing special effects, can borrow the necessary computational resources according to their needs.
2.Increased Options: Render Network provides more options for both lenders and borrowers. Lenders have the opportunity to generate income by renting out their unused processing power. On the other hand, borrowers, who are often artists or companies in the graphics field, can access the power they require without the need to invest in expensive hardware. Render Network becomes an alternative way for these groups to access computational power while significantly reducing costs.
3.Transparency: Being built on blockchain technology, Render Network ensures a high level of transparency. Users can verify relevant information about the lending process, including the credibility of lenders. This can be determined by examining their track record of successful completed projects. Additionally, Render Network employs a ranking system to assess the credibility of lenders, making it convenient for those seeking to rent processing power.
In essence, Render Network addresses the challenge of accessing and affording high-performance computing resources for graphics rendering. It creates an ecosystem that benefits both those who have unused processing power and those who require it, fostering a more efficient and cost-effective approach to digital media creation.
What is RNDR?
RNDR, also known as RenderToken, is the digital token specific to the Render Network. Its main function is to serve as an intermediary for exchanges within the network. Those who require processing power to be lent must pay in RNDR to the lenders, and in return, the lenders receive compensation in RNDR tokens.
The RNDR tokens were created in a limited supply of 536,870,912 tokens. They were first released in October 2017 through a public token sale. From January 2018 to May 2018, 25% of the RNDR tokens were sold to the public, 10% were allocated to reserves, and the remaining 65% were placed in an Escrow system to help maintain a balanced supply and demand of tokens within the Render Network.
Who Created RNDR?
The creator of RNDR is Jules Urbach. He is the founder and CEO of Render Network and is widely recognized as a leading figure in the fields of computer graphics, streaming, and cloud computing. He holds more than 70 patents and has over 25 years of experience in the industry.
Jules is also the CEO of OTOY, a company that has won an Academy Award for GPU cloud graphics and CGI technology. His expertise and contributions have made a significant impact on the industry, positioning him as a key innovator in the field of graphics and rendering technology.
Summary
Render Network is a network designed for borrowing and renting graphics processing power. The RNDR token is the network’s native cryptocurrency, serving as both payment for borrowing and a reward for lenders.
The vision of Render Network is to provide artists and studios with access to high-performance graphics processing power at reduced costs. At the same time, individuals who own computers can generate additional income by lending their processing power to those who need it. This ecosystem aims to democratize access to computational resources for graphics rendering while creating a mutually beneficial environment for both borrowers and lenders.
Reference: Render Network, Coinmarketcap
_________________________________________
Disclaimer:
-Cryptocurrency and digital tokens involve high risks; investors may lose all investment money and should study information carefully and make investments according to their own risk profile.
-Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.
-Returns/Past Performance does not guarantee future returns/performance.
Currency | Last price (THB) | 24H VOLUME |
---|