บทความ

รวมข่าวคริปโตรายสัปดาห์: เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี

image

เรารวบรวมข่าวเด่นในวงการคริปโทเคอร์เรนซีและบล็อกเชนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มาให้อ่านกันที่นี่แล้ว ไปดูกันเลย!

*เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการนำข่าวสารย้อนหลังตลอดช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจากเว็บไซต์ต่างประเทศมาเรียบเรียงและสรุปให้เข้าใจง่าย ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด

===================

เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี ที่ 38 บาท/ดอลลาร์

image

เงินบาทยังคงถูกกดดันจนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อคืนวันที่ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 38 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี 2549

ปัจจัยส่วนหนึ่งที่กดดันการอ่อนค่าของเงินบาทมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% ของ FED เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดอลลาร์ขึ้นไปสู่ระดับ 114 จุด ส่งผลให้ค่าเงินสกุลทั่วโลกอ่อนค่าลงตามไปด้วย

ท่ามกลางค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ส่งผลให้เหรียญ Stablecoin ที่ผูกมูลค่ากับดอลลาร์สหรัฐ เช่น USDT USDC และ BUSD ต่างปรับสูงขึ้นมาที่ระดับ 38 บาท

ที่มา Bangkokbiznews

===================

Disney เปิดรับสมัครงานในตำแหน่งเกี่ยวกับ Web3 และ Metaverse

image

Walt Disney ประกาศผ่าน LinkedIn เมื่อวันที่ 25 กันยายน ว่ากำลังเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งทนายความที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Web3, NFT, Blockchain, DeFi และ Metaverse

ทั้งนี้ ทนายความคนใหม่ต้องสามารถให้คำแนะนำทางกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ NFT ได้ โดยร่วมมือกับทนายความของดิสนีย์คนอื่น ๆ รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจรายอื่น

ประกาศจ้างงานครั้งนี้สะท้อนว่า Disney มีความสนใจเกี่ยวกับ Web3 NFT และ Metaverse ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน CEO ของ Disney ยังเคยกล่าวเกี่ยวกับ Metaverse ว่าเป็น “การเล่าเรื่องในยุคต่อไป”

ที่มา Decrypt

===================

ธนาคารกลางอิสราเอล นอร์เวย์ และสวีเดน จับมือ BIS พัฒนาระบบชำระเงินด้วย CBDC

image

ธนาคารกลางสวีเดน นอร์เวย์ และอิสราเอลร่วมมือกับ BIS (The Bank for International Settlements) เพื่อทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัลของรัฐ (CBDC) ในการชำระเงินซื้อขายสินค้าและการโอนเงินระหว่างประเทศ

ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นภายใต้ Project Icebreaker ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาศูนย์กลางสำหรับทดสอบฟังก์ชันหลักและการเชื่อมต่อระบบ CBDC ของประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยคาดว่าการทดสอบจะสามารถสรุปผลได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2023

นอกจากนี้ ทาง BIS ยังได้รายงานด้วยว่าการทดสอบ CBDC ยังมีธนาคารกลางของฮ่องกง ไทย จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าร่วมด้วย ซึ่งการทดสอบของธนาคารกลางเหล่านี้ที่กินเวลาไปกว่าหนึ่งเดือน “ประสบความสำเร็จ” โดยมีการโอนเงินข้ามประเทศเป็นมูลค่ากว่า 22 ล้านดอลลาร์ และไม่ใช่แค่ประเทศที่กล่าวมาเท่านั้น แต่ยังมีธนาคารกลางของออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ที่ได้ทำการทดสอบ CBDC ในลักษณะคล้าย ๆ กันไปเมื่อปี 2021

ที่มา Cointelegraph

===================

ผู้ร่วมก่อตั้ง Illuvium เผยกำลังพัฒนาเกมบล็อกเชนที่ทำงานร่วมกันได้

image

Kieran Warwick ผู้ร่วมก่อตั้งเกม Illuvium (ILV) กล่าวในงาน Token2049 จัดขึ้นที่สิงคโปร์ โดยเผยว่ากำลังพัฒนาเกมบนบล็อกเชนที่สามารถเล่นร่วมกันได้หรือ Interoperable blockchain game (IBG) จำนวน 3 เกมด้วยกัน

เกมที่พัฒนาอยู่นี้จะอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเดียวกัน โดยใช้เหรียญ ILV ในระบบ Governance ร่วมกัน และ NFT บางชิ้นก็อาจใช้ร่วมกันได้ด้วย

เกมแรกเป็นเกมแนวสร้างเมืองและสะสมทรัพยากรคล้าย Sim City ผสมกับ Clash of Clans ซึ่งทรัพยากรที่ได้จากเกมแรกสามารถนำไปใช้ร่วมกับเกมที่สอง อย่าง Overworld ที่เป็นเกมแนวผจญภัยและจับมอนสเตอร์คล้ายกับ Pokémon โดยมอนสเตอร์ที่จับมาสามารถนำไปเล่นในเกมที่สาม ซึ่งเป็นเกมแนว Battle Arena คล้าย DOTA

Warwick ยังเผยอีกว่าพวกเขาจะไม่หยุดแค่ 3 เกม ในอนาคตพวกเขาต้องการสร้างอีก 6 เกมที่สามารถทำงานร่วมกันได้เพิ่มเข้าไปอีก

ที่มา Cointelegraph

===================

OpenSea รองรับ NFT จากเครือข่าย Optimism แล้ว

image

ตลาด NFT ที่ใหญ่ที่สุดอย่าง OpenSea ประกาศรองรับการแลกเปลี่ยน NFT ผ่านอีกหนึ่งเครือข่าย Layer 2 ยอดนิยมของ Ethereum อย่าง Optimism แล้ว

Optimism นับเป็นเครือข่ายอันดับที่ 6 ที่ทาง OpenSea เพิ่มการรองรับ ปัจจุบัน OpenSea รองรับเครือข่าย Ethereum, Solana, Polygon, Klatyn, และ Arbitrum ที่เพิ่งประกาศรองรับไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

สำหรับคอลเลกชัน NFT ยอดนิยมบน Optimism อย่าง Apetimism, OptiChads, OptiPunks, และ Optimism Quest ก็ลูกลิสต์ขึ้นไปบน OpenSea แล้วเช่นกัน

ที่มา Decrypt

===================

SWIFT จับมือ Chainlink พัฒนาระบบโอนเงินแบบ Cross-chain

image

SWIFT ระบบโอนเงินระหว่างธนาคาร ประกาศร่วมมือกับ Chainlink (LINK) ผู้ให้บริการด้าน Oracle เพื่อร่วมกันพัฒนาตัวคอนเซ็ปต์ของระบบที่สามารถทำให้สถาบันทางการเงินแบบเดิมสามารถทำธุรกรรมร่วมกับบล็อกเชนได้

การประกาศความร่วมมือครั้้งนี้เกิดขึ้นบนเวที SmartCon 2022 จัดขึ้นในเมืองนิวยอร์ก โดย Sergey Nazarov ผู้ร่วมก่อตั้ง Chainlink ร่วมกันประกาศกับ Jonathan Ehrenfeld Solé ผู้บริหารด้านกลยุทธ์ของ SWIFT

โดย Solé ยังกล่าวด้วยว่า “มีกระแสเรียกร้องเข้ามามากมายจากบรรดาสถาบันทางการเงินที่ต้องการให้ลูกค้าของพวกเขาสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลได้ โดยใช้บริการจากแค่แพลตฟอร์มเดียว”

สำหรับคอนเซ็ปต์ของระบบดังกล่าวจะเป็นการนำระบบ Cross-chain interoperability protocol (CCIP) ของ Chainlink มาใช้ร่วมกับระบบของ SWIFT เพื่อโอนเงินในรูปแบบของโทเคนไปยังบล็อกเชนได้เกือบทุกเครือข่าย ซึ่งทาง Nazarov คาดว่าโปรเจกต์นี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสมุดบัญชีสาธารณะจากบรรดาสถาบันทางการเงินแบบดั้งเดิมได้อย่างมาก

ที่มา Cointelegraph

===================

Warner Music Group จับมือ OpenSea สร้างโอกาสด้าน Web3 ให้เหล่าศิลปิน

image

Warner Music Group (WMG) บริษัทด้านดนตรีและสื่อบันเทิงระดับโลก ประกาศจับมือกับตลาด NFT อย่าง OpenSea เพื่อเป็นแพลตฟอร์มให้เหล่าศิลปินสามารถสร้าง Web3 เป็นของตัวเอง และสามารถขยายฐานของเหล่าแฟน ๆ และให้แฟน ๆ สามารถมีส่วนร่วมกับศิลปินได้มากขึ้น

โดยเอกสารที่เปิดเผยออกมาระบุว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้เหล่าศิลปินในเครือ WMG สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ของ OpenSea ได้แบบ Early access

ฟีเจอร์ดังกล่าวจะทำให้ศิลปินสามารถออกคอลเลกชัน NFT เป็นของตัวเอง พร้อมตกแต่งหน้า Landing page ให้มีความน่าสนใจตามแบบของศิลปิน ขณะเดียวกันก็จะได้รับความปลอดภัยตามมาตรฐานของ OpenSea

ที่มา Cointelegraph

===================

ติดตามบทความ ข่าวสาร และความรู้ที่น่าสนใจในวงการคริปโตได้ที่ Bitkub Blog

เรียนรู้เรื่อง บิทคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrecy ที่น่าสนใจก่อนเริ่มลงทุน

สมัครบัญชี Bitkub เพื่อ trade Cryptocurrency ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย www.bitkub.com/signup

*สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง คุณอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Waranyu Suknantee | 30 ก.ย. 65 | อ่าน: 2,151
บทความล่าสุด