บทความ
บล็อกเชนโปร่งใสตรวจสอบได้…แล้วตรวจสอบยังไง?
เชื่อว่าคนที่เคยศึกษาหรือได้ยินเกี่ยวกับบล็อกเชนซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานอยู่เบื้องหลังคริปโทเคอร์เรนซีเกือบทุกสกุล เกือบทุกคนต้องเคยได้ยินว่า “บล็อกเชนนั้นโปร่งใส ทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลที่อยู่บนบล็อกเชนได้” และหลายคนเมื่อได้ยินคำนี้ คำถามที่น่าจะเกิดขึ้นตามก็คือ “แล้วจะตรวจสอบอย่างไรล่ะ?”
ในบทความนี้ Bitkub Blog จะมาสรุปให้ว่าเราสามารถตรวจสอบข้อมูลบนบล็อกเชนที่ว่าโปร่งใสได้อย่างไร
เข้าใจประเภทของบล็อกเชน
ก่อนที่เราจะไปดูวิธีตรวจสอบข้อมูลบนบล็อกเชน ก่อนอื่นเรามารู้จักกับประเภทของบล็อกเชนหลัก ๆ ทั้ง 4 ประเภทกันก่อน ได้แก่
1.Public blockchain
บล็อกเชนสาธารณะ (Public blockchain) นับเป็นบล็อกเชนที่โปร่งใสและสอดคล้องกับแนวคิดการกระจายอำนาจที่สุด เพราะข้อมูลที่อยู่บนบล็อกเชนประเภทนี้จะถูกเก็บไว้โดยโหนดที่กระจายไปทั่วโลก ทำให้ไม่มีใครสามารถควบคุมได้ แต่ในขณะเดียวกันใคร ๆ ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลที่อยู่บนบล็อกเชนได้ตลอดเวลาและไม่ต้องขออนุญาต โดยตัวอย่างของบล็อกเชนประเภทนี้ได้แก่ Bitcoin นั่นเอง
2.Private blockchain
บล็อกเชนส่วนตัว (Private blockchain) มักจะเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่มีขนาดเล็ก และถึงแม้จะมีโหนดคอยเก็บข้อมูลเหมือนกับบล็อกเชนสาธารณะแต่คนที่ควบคุมโหนดเหล่านี้ก็มักจะเป็นองค์กรหรือคนคนเดียวกัน อีกทั้งการจะเข้าถึงบล็อกเชนประเภทนี้ได้จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน ทำให้บล็อกเชนประเภทนี้ไม่มีโปร่งใสและมักจะถูกใช้เป็นฐานข้อมูลภายในองค์กรมากกว่า
3.Hybrid blockchain
บล็อกเชนแบบผสม (Hybrid blockchain) เป็นบล็อกเชนที่ผสมจุดเด่นของบล็อกเชนสาธารณะกับบล็อกเชนส่วนตัวเข้าด้วยกัน โดยบล็อกเชนแบบผสมมักจะยังถูกควบคุมโดยองค์กรหรือคนคนเดียว แต่คนที่ควบคุมสามารถกำหนดได้ว่าจะอนุญาตให้ใครสามารถเข้าถึงบล็อกเชนได้ และข้อมูลใดบ้างที่จะเปิดเผยให้เห็นแบบสาธารณะ
4.Consortium blockchain
Consortium blockchain มีพื้นฐานคล้ายกับบล็อกเชนแบบผสมแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยบล็อกเชนส่วนตัวกับแบบผสมมักถูกใช้ในระดับองค์กร แต่ Consortium blockchain อาจถูกใช้ร่วมกันระหว่างองค์กรตั้งแต่สองแห่งขึ้นไป ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะคอยช่วยกันดูแลและควบคุมเครือข่ายบล็อกเชนประเภทนี้ร่วมกัน
จะเห็นได้ว่านอกจากบล็อกเชนสาธารณะ (Public blockchain) แล้ว การที่ผู้ใช้ทั่วไปจะเข้าถึงบล็อกเชนประเภทอื่นได้จำเป็นต้องมีการขออนุญาตก่อน ทำให้บล็อกเชนเหล่านี้ไม่มีความโปร่งใสเท่ากับบล็อกเชนสาธารณะ นั่นหมายความว่าบล็อกเชนที่เราสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างโปร่งใสก็คือบล็อกเชนสาธารณะเท่านั้น
วิธีตรวจสอบข้อมูลบนบล็อกเชน
การตรวจสอบข้อมูลบนบล็อกเชน วิธีที่ง่ายที่สุดคือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Blockchain Explorer
Blockchain Explorer มักจะเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของบล็อกเชนเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและตรวจสอบข้อมูลของบล็อกเชนได้ โดยจะมีอินเทอร์เฟซและฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ โดยแต่ละบล็อกเชน เช่น Bitcoin, Ethereum, Solana, Cardano ฯลฯ มักจะมี Blockchain Explorer ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
1.Etherscan เป็น Explorer สำหรับเครือข่าย Ethereum
2.Solscan เป็น Explorer สำหรับเครือข่าย Solana
3.Bkcscan เป็น Explorer สำหรับเครือข่าย Bitkub Chain
หมายเหตุ: เว็บ Explorer บางเว็บอาจสามารถตรวจสอบบล็อกเชนได้มากกว่าหนึ่งเครือข่าย เช่น Blockchair
ยกตัวอย่าง เว็บ Etherscan หากเราต้องการตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมบน Ethereum นอกจากเราสามารถไล่ดูทีละธุรกรรมได้แล้ว เรายังสามารถค้นหาจาก Address กระเป๋าเพื่อดูธุรกรรมได้ด้วย ยกตัวอย่างตามภาพด้านล่าง
จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่ากระเป๋า 0x0C70… มีการโอน 1.49853 ETH ไปยังกระเป๋า 0xdC62… ในบล็อกลำดับที่ 18082310
แม้ตัวอย่างธุรกรรมดังกล่าวอาจน่าสับสนอยู่บ้าง นั่นเพราะที่อยู่กระเป๋าถูกเข้ารหัสเอาไว้ ทำให้เราไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของกระเป๋า เว้นแต่เจ้าของกระเป๋าเป็นคนเปิดเผยเองว่าที่อยู่นี้เป็นของเค้า เมื่อเรารู้ที่อยู่กระเป๋าที่อยากตรวจสอบ เราก็สามารถนำที่อยู่กระเป๋าไปค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้แบบเจาะจงตามตัวอย่างด้านล่าง
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าที่อยู่กระเป๋า 0x992f… ถือเหรียญ ETH อยู่ในกระเป๋าจำนวน 0.3401 ETH คิดเป็นมูลค่า 557 ดอลลาร์ (1 ETH = 1,638.62 ดอลลาร์) ทำธุรกรรมล่าสุดเมื่อ 4 นาทีก่อน และเคยทำธุรกรรมแรกเมื่อ 29 วันก่อน
จะเห็นได้ว่าหากเป็นบล็อกเชนสาธารณะ ผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส แต่ในขณะเดียวกันผู้ใช้ก็ยังมีความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่ง เนื่องจากที่อยู่กระเป๋าถูกเข้ารหัสไว้ หากไม่เปิดเผยว่ากระเป๋าไหนเป็นของเราก็ยังสามารถคงความเป็นส่วนตัวเอาไว้ได้นั่นเอง
สรุป
บล็อกเชนมี 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1.บล็อกเชนสาธารณะ (Public blockchain) 2.บล็อกเชนส่วนตัว (Private blockchain) 3.บล็อกเชนแบบผสม (Hybrid blockchain) และ 4.Consortium blockchain โดยภายในทั้ง 4 ประเภท บล็อกเชนสาธารณะมีความโปร่งใสมากที่สุดและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างโปร่งใส โดยสามารถใช้เครื่องมือ Blockchain Explorer เพื่อตรวจสอบข้อมูลบนแต่ละบล็อกเชนได้อย่างสะดวก
อ้างอิง TechTarget, Decrypt
_________________________________________
บทความ Bitkub Blog ที่คุณอาจสนใจ
Blockchain คืออะไร เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกหรือเปล่า?
ไขทุกเรื่องราวเกี่ยวกับ Cryptocurrency ว่าคืออะไร และทำไมถึงน่าสนใจ ?
ทำความเข้าใจ Bitcoin คืออะไร? ภายใน 3 นาที
รู้จัก Ethereum คริปโทที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
_________________________________________
มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog
หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่”
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”
_________________________________________
Blockchain is transparent and verifiable… so how to Explore it?
Many people believe that those who have studied or heard about blockchain, a technology that underlies almost all cryptocurrencies, have probably heard that “blockchain is transparent, and anyone can verify the information on the blockchain.” And when people hear this, the natural question that arises is, “How can we verify it?”
In this Bitkub Blog article, we will summarize how we can verify the transparency of information on the blockchain.
Understanding the Types of Blockchain
Before we delve into how to verify information on the blockchain, let’s first get to know the main types of blockchain, which are:
1.Public blockchain
A public blockchain is considered the most transparent and in line with the concept of decentralization. This is because the data on this type of blockchain is stored by nodes distributed globally, making it impossible for anyone to control. However, at the same time, anyone can verify the data on the blockchain at any time without requiring permission. An example of this type of blockchain is Bitcoin.
2.Private blockchain
A private blockchain is often a smaller network with nodes that store data similar to a public blockchain. However, the entities or individuals controlling these nodes in a private blockchain are usually from the same organization. Access to this type of blockchain typically requires permission, making it less transparent and often used as an internal database within organizations.
3.Hybrid blockchain
A hybrid blockchain combines the strengths of both public and private blockchains. It is often controlled by an organization or individual, but the controlling party can specify who has access to the blockchain and which data will be publicly disclosed.
4.Consortium blockchain
Consortium blockchains share similarities with hybrid blockchains but are typically larger in scale. Private and hybrid blockchains are often used within organizations, while consortium blockchains may be used jointly by multiple organizations. These organizations collaborate to maintain and control the blockchain network.
It is evident that, except for public blockchains, general users need permission to access other types of blockchains. This means that these blockchains are not as transparent as public blockchains. Therefore, the blockchain that we can verify information on transparently is only the public blockchain.
How to Explore Information on the Blockchain
The simplest way to explore information on the blockchain is to use a tool called a Blockchain Explorer.
A Blockchain Explorer is typically a website that aggregates all the data from the blockchain, allowing users to search for and verify information on the blockchain. It provides interfaces and various functions that make it convenient for users. Each blockchain, such as Bitcoin, Ethereum, Solana, Cardano, and so on, often has its own unique Blockchain Explorer. For example:
1.Etherscan is an Explorer for the Ethereum network.
2.Solscan is an Explorer for the Solana network.
3.Bkcscan is an Explorer for the Bitkub Chain network.
Note: Some Explorer websites may be capable of verifying multiple blockchains, like Blockchair.”
For example, the website Etherscan, if we want to verify transactions on Ethereum, besides being able to view individual transactions, we can also search by wallet address to view transactions. An example is shown in the image below.
From the accompanying image, we can see that the wallet address 0x0C70… transferred 1.49853 ETH to the wallet address 0xdC62… in block number 18082310.
Although such transaction examples may seem confusing, it’s because wallet addresses are encoded, making it impossible for us to know who owns the wallet unless the owner publicly discloses it. Once we know the wallet address we want to verify, we can search and check the data specifically, as shown in the example below.
From the example, we can see that the wallet address 0x992f… holds 0.3401 ETH in the wallet, valued at 557 dollars (1 ETH = 1,638.62 dollars). The most recent transaction was made 4 minutes ago, and the first transaction was made 29 days ago.
It’s evident that in the case of a public blockchain, regular users like us can verify information transparently. However, users still have a level of privacy because wallet addresses are encoded, and unless disclosed, it’s possible to maintain privacy.
Summary
there are four main types of blockchains: 1. Public blockchain, 2. Private blockchain, 3. Hybrid blockchain, and 4. Consortium blockchain. Among these, public blockchains are the most transparent and allow for transparent verification. You can use tools like Blockchain Explorers to conveniently check data on each blockchain.
Reference: TechTarget, Decrypt
_________________________________________
— Cryptocurrency and digital tokens involve high risks; investors may lose all investment money and should study information carefully and make investments according to their own risk profile.
— Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.
— Returns/Past Performance does not guarantee future returns/performance.
ที่มา:
Medium