บทความ

ประเด็นทางบัญชีที่ผู้ถือครองคริปโตเคอร์เรนซีควรรู้

image

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ในเรื่องของเงินๆ ทองๆ ก็เช่นกันค่ะ ทุกวันนี้เพื่อนๆ น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินคำว่า “คริปโตเคอร์เรนซี” กันมาบ้างพอสมควรแล้ว ว่ามันคือ สินทรัพย์รูปแบบนึงที่มีมูลค่า และสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ง่ายมากๆ ในปัจจุบัน

สำหรับเจ้าของธุรกิจเองก็สามารถเป็นเจ้าของคริปโตเคอร์เรนซีนี้ได้ค่ะ และด้วยความที่สิ่งนี้คือเรื่องใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกใบนี้ ทุกคนก็คงสงสัยเหมือนกันใช่ไหมคะว่า ถ้าสมมติเรามีคริปโตเคอร์เรนซีในกิจการ แล้วเราต้องรับรู้รายการทางบัญชียังไงกันนะ วันนี้ FlowAccount จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจความหมายและวิธีปฏิบัติทางบัญชีไปพร้อมๆ กันนะคะ

สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) คืออะไร

สินทรัพย์ดิจิทัล คือ หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่า และจับต้องไม่ได้ด้วยมือเปล่าค่ะ สินทรัพย์นี้จะถูกสร้างขึ้นในเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญเราสามารถซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน โดยไม่ผ่านตัวกลางอย่างธนาคารก็ได้นะคะ

และเจ้าคริปโตเคอร์เรนซีนี้ ก็เป็นหนึ่งในสินทรัพยดิจิทัลที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ค่ะ

จริงๆ แล้วสินทรัพย์ดิจิทัลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

1.คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) หมายถึง หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็น “สื่อกลางในการเเลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด” โดยมูลค่าของคริปโทนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก

ยกตัวอย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ถือเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมและใช้เเลกเปลี่ยนมากที่สุดสกุลหนึ่ง

2.โทเคนดิจิทัล (Token Digital) หมายถึง หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำหนด “สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการ” หรือ “สิทธิในการเข้าถึงสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นที่ถูกกำหนดไว้” ดังนั้น มูลค่าของโทเคนดิจิทัลจึงขึ้นอยู่กับมูลค่าสิทธิข้างต้น ซึ่งโทเคนดิจิทัลสามารถออกเสนอขายได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Initial Coin Offering (ICO) คล้ายๆ กับการออกเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (IPO) นั่นเองค่ะ

เจ้าโทเคนนี้ก็แบ่งประเภทย่อยๆ ออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

-โทเคนเพื่อการลงทุน (Investment Token) สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการร่วมลงทุน เช่น สิทธิในส่วนแบ่งรายได้ สิทธิในผลกำไรจากการลงทุน เป็นต้น

-โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า คูปองในศูนย์อาหาร ชิปแลกซื้อสินค้า เป็นต้น

สำหรับเทรนในปี 2023 นี้สินทรัพย์ดิจิทัลไหนที่น่าจับตามอง เพื่อนๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

สินทรัพย์ดิจิทัลที่น่าจับตามอง ปี 2023

หลักการบัญชี TFRS for NPAEs สำหรับการถือครองคริปโทเคอร์เรนซีเป็นอย่างไร

กรณีที่ธุรกิจเป็นเจ้าของคริปโทเคอร์เรนซี จะต้องทำบัญชีอย่างไร ในที่นี้ขออธิบายเกี่ยวกับธุรกิจ SMEs ที่ใช้มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ TFRS for NPAEs กันค่ะ

เบื้องต้นต้องเข้าใจกันก่อนว่าคริปโทเคอร์เรนซี ไม่ได้ถือเป็นเงินสดในทางบัญชี เพราะแม้ว่าจะแลกเปลี่ยนกันได้ในตลาดอย่างคล่องตัวก็จริง แต่ว่ามีความเสี่ยงในการเพิ่มหรือลดมูลค่าค่อนข้างสูงค่ะ จึงไม่เข้านิยาม เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดนะคะ

แล้วหลายคนน่าจะสงสัยต่อใช่ไหมคะ ว่าเราจะรับรู้คริปโทเคอร์เรนซีที่ซื้อเข้ามาเป็นอะไร

เฉพาะตัวคริปโทเคอร์เรนซี ไม่รวมถึง โทเคนดิจิทัล ทางเลือกในการรับรู้บัญชีมีด้วยกัน 2 เรื่องหลักๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

image

วิธีการรับรู้รายการในสมุดบัญชีแบ่งเป็น ช่วงแรกการวัดมูลค่าเริ่มแรก และช่วงที่ 2 การวัดมูลค่า ณ วันสิ้นงวด ตามตารางนี้ค่ะ

image

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ที่นี่ค่ะ

https://acpro-std.tfac.or.th/test_std/uploads/files/Q%E0%B8%BFA_Crypto_NPAEs.pdf

บันทึกบัญชีในระบบบัญชีอย่างไร

การบันทึกบัญชีบนระบบบัญชีสำหรับกิจการที่มีการถือครองคริปโทเคอร์เรนซีจะไม่ใช่เรื่องอยากอีกต่อไป โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ใช้งานง่าย สำหรับนักธุรกิจยุคใหม่ อย่าง FlowAccount เป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจและระบบการบันทึกบัญชีอัตโนมัติ ที่ทุกธุรกิจสามารถปรับให้สอดคล้องกับการทำงานได้เลย

มาดูวิธีการบันทึกบัญชี และ การกำหนดผังบัญชีบนระบบ เมื่อมีคริปโทเคอร์เรนซีพร้อมกันเลยค่ะ

1.กรณีเป็นสินค้าคงเหลือ

เจ้าของธุรกิจสามารถกำหนดสินค้าคงเหลือเป็นประเภทคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่เมนูนี้

image

จากนั้นเวลาซื้อและขายคริปโทเคอร์เรนซีเลือกประเภทสินค้าในขั้นตอนการเปิดบิลได้ตามปกติเลย

เมื่อถึงวันสิ้นงวด แจ้งให้นักบัญชีปรับปรุงคริปโทเคอร์เรนซีคงเหลือตามรายงานสินค้าคงเหลือ และบันทึกขาดทุนจากการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ (ถ้ามี)

2.กรณีเป็นสินทรัพย์

เจ้าของธุรกิจหรือนักบัญชี สามารถกำหนดผังบัญชีเพื่อเพิ่มสินทรัพย์ดิจิทัลเข้าไปได้ ที่เมนูผังบัญชี > บริหารบัญชี

image

จากนั้นเมื่อซื้อคริปโทเคอร์เรนซีเข้ามา นักบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีในเมนูสมุดรายวัน และวันสิ้นงวด ก็จะต้องปรับปรุงเพื่อบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ด้วย (ถ้ามี)

ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นทางบัญชีที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ถ้าถือครองคริปโทเคอร์เรนซีไว้ ซึ่งอาจจะตีความยากสักหน่อยสำหรับการบันทึกบัญชี แต่ถ้ามีนักบัญชีเก่งๆ ช่วยและระบบบัญชีที่เหมาะสมแล้ว บัญชีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีก็ไม่น่ายากเกินไปสำหรับเถ้าแก่สายดิจิทัลทุกท่านค่ะ

ผู้ประกอบการยุคใหม่ปรับมาใช้ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจไปได้ไกลมากขึ้น

_________________________________________

ติดตามบทความคริปโตที่น่าสนใจได้ที่ Bitkub Blog

Bitcoin เป็นอย่างไรในตลอด 14 ปีที่ผ่านมา

สรุปแนวคิดสำคัญจาก World Economic Forum 2023

ไขทุกเรื่องราวเกี่ยวกับ Cryptocurrency ว่าคืออะไร และทำไมถึงน่าสนใจ ?

_________________________________________

คำเตือน:
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Waranyu Suknantee | 21 ก.พ. 66 | อ่าน: 4,348
บทความล่าสุด