บทความ

DeFi โลกการเงินไร้พรมแดน

image

เกิดเป็นกระแสพูดถึงในวงกว้างถึงแนวคิด Decentralized Financial หรือ “โลกการเงินไร้ตัวกลาง” ขึ้นในงาน DeFi Summit ซึ่งเป็นงานนิทรรศกาลอย่างหนึ่งที่ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2018 ที่ Sanfrancisco โดยในนิทรรศการในครั้งนั้นได้มีการรวมตัวของนักพัฒนามากมาย

ในนิทรรศการนั้นมีกลุ่มนักพัฒนาและกลุ่มคนทั่วไปที่สนใจแนวคิดเดียวกันนี้ได้มีการพูดถึงแนวคิดของโลกการเงินในอุดมคติที่ไร้พรมแดนและความเป็นไปได้ของแพลทฟอร์มด้านการเงินที่ปราศจากตัวกลาง และได้มีการตั้งกลุ่ม DeFi Network community ขึ้นมาในที่สุด

แท้จริงแล้ว DeFi คืออะไรล่ะ?

หากพูดถึง Decentralized Financial นั้นเป็นการเรียกระบบต่างๆ ในโลกการเงินแบบไร้ตัวกลางเกือบทุกรูปแบบ อาทิ การค้ำประกัน, การปล่อยกู้, การโอน, ไปจนถึงมรดก
ทั้งนี้หากมีการกล่าวถึงระบบการเงินแบบเก่าๆ การทำกรรมดังที่กล่าวไปข้างต้นต้องมีการดำเนินการผ่านทางธนาคารหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งในบางครั้งต้องใช้เวลาในการดำเนินการประมาณหนึ่งรวมไปถึงการใช้สินทรัพย์และเครดิตหลายอย่างในการยื่นกู้หรือทำธุรกรรม หรือพูดง่ายๆ ก็คือในระบบแบบเก่าๆ นั้นการจะทำธุรกรรมใดๆ ก็ตามมัก “มีตัวกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น การโอนเงินข้ามประเทศ การขอกู้เงิน การทำสัญญาค้ำประกัน

image

ระบบการเงินแบบเดิม

เมื่อมีการทำธุรกรรมผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร นอกจากทางหน่วยงานนี้จะต้องเป็นผู้ทำธุรกรรมแล้วยังมีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบอีกด้วย

เปรียบเสมือนธนาคารเป็นศูนย์กลางของข้อมูลทั้งหมดที่ทางผู้ใช้จำเป็นต้องไว้เนื้อเชื่อใจ

หากมีอะไรผิดพลาดขึ้นมาก็จะมีการเปิดให้ตรวจสอบเท่าที่ตรวจสอบได้เท่านั้น

มีขั้นตอนและระบบที่ค่อนข้างละเอียดเพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ส่งและผู้รับ บางครั้งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมาก

การทำธุรกรรมบางอย่าง เช่น การขอกู้หรือค้ำประกัน ทางผู้ใช้บริการต้องมีการให้ข้อมูลส่วนตัวหรือนำหลักฐานและเครดิตจำนวนมากมาแสดง

ดูเผินๆ อาจรู้สึกว่าการติดต่อกับธนาคารนั้นเป็นธุระและข้อมูลส่วนตัว แต่แท้จริงแล้วข้อมูลทุกคนอยู่ในกำมือทั้งหมดของธนาคารนั่นแหละ (อย่างที่มีข่าวออกมาเป็นระยะเรื่องมีการทำธุรกรรมกับธนาคารบางแห่งได้ไม่นานแล้วจู่ๆ ก็เริ่มมีประกันโทรมา)

image

ระบบการเงินด้วยแนวคิด DeFi

ทุกคนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบ (หรือใช้บริการแพลทฟอร์มที่ให้บริการ) นั้นเท่ากับทุกคนจะมีสิทธิ์เข้าถือข้อมูลในระบบอย่างเท่าเทียมกัน เช่น บัญชีและรายการธุรกรรมต่างๆ (แน่นอนว่าสิ่งที่แสดงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์เหล่านี้คือรหัสทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นไม่ได้มีข้อมูลละเอียดขนาดชื่อ ที่อยู่ของเจ้าตัวจริงๆ)

ตรวจสอบข้อมูลและความน่าเชื่อถือได้โดยการนำข้อมูลไปตรวจสอบกับข้อมูลที่ผู้ใช้หลายๆ คนมีอยู่ในมือ

ความเป็นอิสระและความยืดหยุ่นในการแลกเปลี่ยนและทำธุรกรรมที่มีความเป็นอิสระสูงมาก

โดยมากทางระบบแทบจะไม่ขอเครดิตหรือข้อมูลผู้ใช้มากนัก เพียงแค่คุณมีคุณสมบัติหรือจำนวนเหรียญในกระเป๋าเท่านั้น!

ประหยัดเวลา ใช้ระยะเวลาเพียงหลักนาทีไปถึงชั่วโมงในการยื่นทำธุรกรรม แม้กระทั่งการกู้และค้ำประกันก็ตาม

ในอีกแง่หนึ่งก็สามารถเรียกได้ว่า ระบบการเงินแบบ DeFi เป็นเสมือนการเอาข้อมูลการทำธุรกรรมที่กระจายเก็บไว้ในหลายๆ จุด มาตรวจสอบได้อย่างพร้อมๆ กัน สิ่งนี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมใดๆ ลง แถมยังช่วยชูจุดเด่นในด้านความโปร่งใสของข้อมูลชุดนึงที่มีการจดบันทึกไว้หลายที่ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่ายด้วยตนเอง

DeFi กับระบบของ Ethereum

จริงๆ แล้วแนวคิด DeFi นั้น ผู้คนต่างให้ความสนใจเป็นวงกว้างและมีการนำแนวคิดตรงนี้ไปต่อยอดพัฒนาแอพพลิเคชั่นและระบบมากมาย แต่ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในระบบที่มีการนำมาต่อยอดพัฒนาวงการการเงินไร้ตัวกลางหลากหลายสาขานั้นเกิดขึ้นบนบล็อคเชนของ “Ethereum” โดยหลายๆ แอพลิเคชั่นนั้นก็มีการปล่อยเหรียญให้กู้ยืมเป็น Stablecoin ที่ถูกค้ำประกันด้วยเหรียญหลากหลายชนิด (โดยผู้ใช้ท่านอื่นๆ ที่เอาเหรียญตัวเองมาปล่อยกู้)

ในปัจจุบันพบว่าระบบนิเวศของเหรียญ Ethereum มีเหรียญในระบบมากกว่า 2% ที่ถูกนำไปหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศของ DeFi (รวมถึงเหรียญอื่นๆ ใน ERC-20 อาทิ Synthetix, MakerDAO,IDEX และอื่นๆ)

มูลค่าของระบบนิเวศ DeFi ของ Ethereum

จากภาพตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่าในปัจจุบันมูลค่าของระบบ DiFi นั้นพุ่งไปสูงถึง $1.13 Billion เลยทีเดียว โดยแอพพลิเคชั่นที่มีมูลค่าสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Maker , Compound , Synthetix

image

ภาพจาก https://defipulse.com/ (ถ่ายเมื่อ 19 ก.พ. 2563)

แอพพลิเคชั่นตัวท็อปมีอะไรบ้าง?

MakerDAO กับแนวคิดการสร้าง Stablecoin
เดิมทีการสร้าง Stablecoin หรือการสร้างสกุลเงินที่สามารถ “คงมูลค่า” และใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการนั้น ในอดีตมีเพียงรัฐบาลของแต่ละประเทศเท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวการออกสกุลเงินต่างๆ ได้ โดยการใช้ทองคำ, พันธบัตร, เครดิตต่างๆ ค้ำประกัน แต่ในโลกของระบบ Decentralized

ระบบจะแทนค่า 1 DAI = 1 ETH และแม้ราคาของ ETH จะไม่ค่อยคงที่ก็ไม่เป็นปัญหา ด้วยระบบ Smart Contract ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ

2. Compound ระบบการกู้ยืมเงินแบบ Decentralized
คล้ายกับระบบของ MakerDao แต่เป็นระบบกู้ยืมเงินที่ทางผู้ใช้สามารถนำเหรียญสกุลอะไรก็ได้ที่ทำงานอยู่บนบล็อคเชนของ ETH ไปค้ำประกันเพื่อแลกเหรียญดิจิทัลสกุลอื่นๆ ในระบบ และรายได้ของผู้ที่นำเหรียญมาปล่อยกู้จะเป็นดอกเบี้ยจะถูกคำนวนจาก Demand และ Supply ในระบบ

3. Synthetix กับการจำลองสินทรัพย์เข้าสู่โลกของดิจิทัล

ได้มีการสร้างระบบที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถนำสินทรัพย์ (เหรียญสกุลดิจิทัล) ของตนเองมาค้ำประกันเพื่อสร้าง “สินทรัพย์จำลองขึ้นมาในโลกดิจิทัล” แต่ต้องวางเงินค้ำประกันสูงถึง 750% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่จะสร้าง (ค้ำโดยเหรียญ SNX) ถือว่าเป็นระบบที่น่าสนใจ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ค่อนข้างมาก เนื่องด้วยในปัจจุบันระบบสินทรัพย์จำลองนั้นยังไม่ถูกรองรับในแพลทฟอร์มอื่นๆ นอกจากของ Synthetix โดยตรง

ถือว่าน่าสนใจทีเดียวสำหรับจุดเริ่มต้นของระบบการเงินแห่งอนาคตนี้ แต่ก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบหลายๆ อย่างยังต้องใช้เวลาในการพิสูจย์และพัฒนาตัวเองอีกมาก อย่างไรก็ดีหลังจากกระแสแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ทยอยเปิดตัวออกมาเรื่อยๆ ทั้งนี้หลังจากกระแสแอพพลิเคชั่นที่ใช้ได้จริงออกมาราคาของเหรียญ ETH ก็ฟื้นดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับใครที่อยากทดลองเทรดหรือซื้อเหรียญสกุลนี้เก็บไว้ในมือ สามารถสมัครสมาชิกและหาซื้อได้จากทางตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องจากทาง กลต. เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้ลงทุนเอง เช่น ทางเว็บไซต์ Bitkub.com ก็มีเหรียญชนิดนี้วางขายและรับชำระเป็นเงินบาทด้วยเช่นกัน

image

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Minyarinn Chaotrakul | 14 ธ.ค. 64 | อ่าน: 1,954
บทความล่าสุด