• TH
กลับสู่หน้าบล็อก

เหตุใดนาซ่าจึงนำบล็อกเชนไปใช้ถึงนอกอวกาศ?

How does Blockchain become an attention for NASA

image

เมื่อนาซ่าลงทุนวิจัยเกี่ยวกับบล็อกเชน

เมื่อกล่าวถึงนาซ่า ใครๆก็ต่างต้องคุ้นเคยกับองค์กรเป็นอย่างดี องค์กรที่ทำให้เด็กๆหลายคนใฝ่ฝันที่ไปเหยียบดวงจันทร์ หรือแม้กระทั่งเป็นนักบินอวกาศ
โดยโปรเจ็คล่าสุดของนาซ่าที่สั่นสะเทือนวงการเทคโนโลยีไม่แพ้การเหยียบดวงจันทร์ การค้นพบยูเอฟโอ หรือการเจอดาวเคราะห์ดวงใหม่ ก็คือ การวิจัยบล็อกเชนของเหรียญ Ethereum เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารและการตรวจค้นหาด้วยเงินลงทุนกว่า $330,000 ในหัวข้อ “Network Paradigm and Resilient Computing, the blockchain technology behind of smart contract” หรือ “การใช้สัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชน ในเครือข่ายจำลองและการยืดหยุ่นของระบบ”

จากการวิจัยพบว่าการนำบล็อกเชนมาใช้จะทำให้ยานอวกาศสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์มีโอกาศในการเก็บข้อมูลมากขึ้นตามไปด้วย โดยจุดเด่นของการนำระบบบล็อกเชนของ Ethereum มาใช้นั้น คือองค์กรสามารถนำบล็อกเชนตัวนี้เข้ามาต่อยอดพัฒนาเป็น Private Blockchain สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรของนาซ่าโดยเฉพาะ ทำให้การจัดเก็บหรือค้นหาข้อมูล รวมไปถึงการ Back up และความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลนั้นมีความเที่ยงตรงอย่างมาก และตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย

Hyperledger บล็อกเชนสำหรับการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air traffic)

การควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือ Air traffic control คือการควบคุมการจราจรทางอากาศ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานที่บินอยู่ รวมถึงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานกับสิ่งกีดขวางภาคพื้น และการจัดการให้การจราจรทางอากาศเป็นไปได้ด้วยความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย หากกล่าวในรูปแบบขององค์กรนาซ่า ก็เปรียบได้กับการนำระบบตัวนี้ไปจัดการการจราจรของดาวเทียมและยานอวกาศที่อยู่นอกโลกนั้นเอง

image

แล้ว Hyperledger บล็อกเชนเกี่ยวข้องอย่างไร?

จากการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “การใช้สัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนในเครือข่ายจำลองและการยืดหยุ่นของระบบ” นาซ่ายังดำเนินการศึกษาบล็อกเชนอย่างต่อเนื่อง ทางองค์กรยังกล่าวอีกว่าระบบการจัดการจราจรทางอากาศในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ง่ายมาก และบล็อกเชนเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยปรับปรุงความปลอกภัยของข้อมูลได้อย่างมาก
โดยนาซ่าได้มีการเผยเอกสารงานวิจัยเรื่องหนึ่งออกมาว่า “งานวิจัยดังกล่าวได้จัดทำโดยศูนย์วิจัยนาซ่าอาเมส (Ames) ในแคลิฟอร์เนีย โดย โรนัลด์เจ. เรซิส วิศวกรคอมพิวเตอร์อากาศที่มากด้วยประสบการณ์อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการบิรอละอวกาศ พร้อมยังมีทักษาสูงในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งยังเป็นอีกความท้าทายหนึ่งที่กองทัพต้องเผชิญเนื่องจากการใช้ระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติ (ADS-B) และบล็อกเชนก็ช่วยแกปัญหานี้ได้”

Hyperledger Fabric เป็นบล็อกเชนที่นิยมใช้มากในองค์กร เพราะเป็นบล็อกเชนส่วนตัว สำหรับผู้พัฒนาที่นำไปใช้ในองค์กรใดๆ จะสร้างบล็อกเชนส่วนตัวของตัวเองได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับรายละเอียดการใช้งานบล็อกเชนส่วนตัวที่สร้างขึ้น
โดยใช้ Hyperledger fabric สามารถให้สิทธิ์การเข้าถึงแก่ผู้ใช้งานที่เชื่อถือได้ตามที่กำหนดโดยผู้สร้าง บล็อกเชนส่วนตัวนั้น ไม่จำเป็นต้องจัดการกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับอุปกรณ์ใดๆ และบล็อกเชนส่วนตัวนั้นมีความเร็วสูงกว่ามาก ซึ่งรวมถึงต้นแบบของเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้หน่วยงานที่เชื่อถือได้เช่น Fabric Certificate Authority

แต่ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่ามันยากที่จะนำ กุญแจสาธารณะ (Public key) มาใช้ในลักษณะที่เครื่องบินสามารถใช้ในการบินได้ Hyperledger บล็อกเชน ยังอนุญาตให้ระบบการจราจรทางอากาศมี Public Key Infrastructure (PKI) ซึ่งจะมีความสำคัญในการรักษาเอกลักษณ์ที่ปลอดภัยสำหรับการสื่อสาร จากรายงานอ้างว่า ประโยชน์ที่โดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของกุญแจสาธารณะ (Public key) มา ที่ใช้โดย hyperledger คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นขององค์กรใดๆ ทำให้แพลตฟอร์มทำงานร่วมกันได้มากขึ้น จากรายงานระบุว่าเครือข่ายการสื่อสารที่ขับเคลื่อนโดย บล็อกเชนจะช่วยให้ระบบ ADS-B สามารถตอบสนองหรือตอบสนองเกินกว่าระดับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของระบบเรดาร์ใน NAS

สรุป

เทคโนโลยีบล็อกเชนกลายเป็นอีกเทคโลโนยีหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลายๆ อุตสาหกรรมได้จริง แม้แต่นาซ่ายังทำลงทุนวิจัยเพื่อศึกษาและนำมาปรับใช้
เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นได้ช่วยให้การจราจรทางอวกาศนั้นง่ายขึ้นด้วยการเก็บข้อมูลร่วมกันและยังทำให้การสื่อสารทางอวกาศนั้นเร็วขึ้น รวมถึงการที่ทางองค์กรได้มีการนำไปใช้คู่กับระบบดาวเทียม โดยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนภายใต้ระบบยานพาหนะอย่างเช่น จรวดและยานอวกาศ ยังช่วยการสื่อสารระหว่างกันนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม การศึกษาครั้งยังหวังอีกว่าจะนำไปสู่การลดความแออัดการจราจรของรถยนต์ผ่านการประสานงานความเร็วและการเคลื่อนไหวของกันและกัน นอกจากนี้ยังหวังว่ามันจะนำไปสู่ระบบสินเชื่อบนถนนซึ่งจะช่วยให้คนขับรถได้รับโทเค่นผ่านการขับขี่ร่วมกันได้

Bitkub.com เชื่อว่าการที่นาซ่านำบล็อกเชนไปใช้ จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้หลายๆคนมั่นใจกับเทคโนโลยีนี้กว่าเดิม Bitkub.com ขอเป็นเป็นอีกหนึ่งแรงเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีบล็อกเชน และการนำไปใช้ในอนาคต คลิ๊กที่นี่เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

image
cr :https://medium.com/bitkub/blockchain-with-nasa-3f84dda43d09
กลับสู่หน้าบล็อก
ราคา
​
สกุลเงินราคาล่าสุด (THB)ซื้อขาย/ วัน
ข่าว
บริการของเรา
  • ตลาดซื้อขาย
  • ซื้อและขาย Cryptocurrency
  • ซื้อ Bitcoin
  • ซื้อ Ethereum
เกี่ยวกับบิทคับ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ภารกิจของเรา
  • ข้อตกลงและเงื่อนไข
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • นโยบาย AML/CFT
  • นโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
ศูนย์ดูแลลูกค้า
  • คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • สารบัญเหรียญ
  • ค่าธรรมเนียม
  • ระยะเวลาการ ฝาก/ถอน
  • ความปลอดภัย
  • BUG BOUNTY PROGRAM
  • ข้อมูล API
ประกาศและข่าวสาร
  • ห้องข่าว
  • ประกาศ
  • บล็อก
  • รายงานข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
ติดต่อเรา
  • ติดต่อเรา
  • ร่วมงานกับเรา
  • การลิสต์เหรียญ
  • ติดต่อด้านพัฒนาธุรกิจ
  • ช่องทางการร้องเรียน
  • แจ้งเตือนข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย
  • dbd gold
  • secured by sectigo
คำเตือน:
  • คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต
© 2023 BITKUB Online CO., LTD ALL RIGHTS RESERVED