บทความ

Bank of Thailand Green-Lights Financial Companies for Crypto Activities

image

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) ได้ประกาศในหนังสือเวียนที่ออกให้สถาบันการเงินทุกแห่ง ทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกให้สามารถดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโตได้แล้วทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตและวินาศภัย ซึ่งเป็นไปตาม พรก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตอล พ.ศ. 2561 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา

ซึ่งเป็นการยกเลิกประกาศก่อนหน้านี้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาที่แบงค์ชาติได้ขอความร่วมมือสถาบันการเงินทุกแห่งระงับการซื้อขายค่าเงินคริปโตไม่ว่ากรณีใดๆ เนื่องมากจากความกังวลเรื่องการไม่มีสินทรัพย์อ้างอิงหรือค้ำประกัน ราคาที่ผันผวน และความเป็นไปได้ที่จะมีการฉ้อโกงประชาชน จนไปถึงเป็นช่องทางในการโอนเงินให้ผู้ก่อการร้าย

โดยในหนังสือเวียนนี้ได้มีกำหนดขอบเขตการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตและโทเคนดิจิตอลซึ่งมีผลต่อผู้ประกอบการ 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1. บริษัทลูก และ 2. สถาบันการเงิน

1. บริษัทลูก (Subsidiaries)

สำหรับบริษัทลูกของสถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้บริการและขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินอันได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์หรือโบรคเกอร์ บริษัทจัดการหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตและวินาศภัย การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคริปโต เช่น การออกโทเคนดิจิตอล และการลงทุนในคริปโตนั้น ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลของธุรกิจนั้น เช่น โบรคเกอร์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กลต. (Thai Securities and Exchange Commission; SEC) และบริษัทประกันที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (Thai Office of Insurance Commission ; OIC)

สำหรับบริษัทลูกใหม่ที่ต้องการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโต จะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านบริษัทแม่ซึ่งจะได้รับการพิจรณาเป็นรายกรณีไป โดยที่บริษัทแม่จะต้องรับผิดชอบในการดูแลและจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดทั้งการต่อต้านฟอกเงิน (Anti-Money Laundering ; AML) การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย (Combating the Financing of Terrorism ; CFT) ความปลอดภัยด้านสารสนเทศ และด้านความคุ้มครองผู้บริโภค

2. สถาบันการเงิน (Financial Institutions)

กฎระเบียบและข้อบังคับสำหรับสถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์มีความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมคริปโตพึ่งเกิดใหม่ทำให้มีความยุ่งยากในการระบุเจาะจงและบริหารความเสี่ยง ซึ่งแบงค์ชาติเชื่อว่าความมั่นใจของลูกค้าและระบบการเงินของประเทศอาจได้รับผลจากการที่สถาบันการเงินเข้าไปถือสินทรัพย์ที่เป็นคริปโต ทั้งนี้แบงค์ชาติได้ระบุถึงข้อห้าม 4 ประการ ที่ห้ามสถาบันการเงินยุ่งเกี่ยวโดยเด็ดขาด คือ

ห้ามออกจำหน่ายและให้บริการใดๆ เพื่อขายโทเคนดิจิตอล

ห้ามลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลซึ่งรวมทั้ง “โทเคนและค่าเงินคริปโต”

3. ห้ามดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคริปโต ซึ่งรวมถึง การแลกเปลี่ยนเงินตรา การเป็นโบรคเกอร์หรือผู้แทนจำหน่าย

4. ห้ามขอคำแนะนำหรือให้คำปรึกษาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในคริปโตให้แก่ใครก็ตามที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือนักลงทุนที่ได้รับการรับรองจาก กลต.

อย่างไรก็ตาม จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สถาบันการเงินสามารถลงทุนในค่าเงินคริปโตได้หากเป็นไปเพื่อการพัฒนาหรือปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้าโดยต้องขออนุญาตผ่าน regulatory sandbox

www.bitkub.com

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: bitkub.com | 22 ต.ค. 61 | อ่าน: 1,478
บทความล่าสุด