บทความ

EigenLayer โปรโตคอลบน Ethereum โดดเด่นด้านการทำ Restaking บนบล็อกเชน

image

EigenLayer คืออะไร?

EigenLayer เป็นโปรโตคอลที่สร้างขึ้นบน Ethereum สำหรับการทำ Restaking ซึ่งเข้ามาเป็นแนวทางใหม่สำหรับผู้สร้าง Web3 มีเป้าหมายเพื่อขจัดอุปสรรคสำคัญที่ DApps จำนวนมากต้องเผชิญ โดยมอบกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยสำหรับนักพัฒนา โดยโปรโตคอลนี้อนุญาตให้ผู้ตรวจสอบหรือ Validator สามารถทำให้ staked ETH มีประโยชน์มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความปลอดภัยและให้บริการที่ปลอดภัยเช่นเดียวกับเครือข่าย staked ETH

ทำไมถึงต้องมีการพัฒนา EigenLayer

Ethereum เป็นรากฐานที่ปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจและกลายมาเป็นโครงสร้างพื้นที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามผู้สร้างWeb3 จำนวนมากต้องการขยายขีดจำกัดด้านประสิทธิภาพในการประมวลผลของ Ethereum และเสนอบริการนอกเครือข่ายที่ปลอดภัยสำหรับชุมชน

EigenLayer จึงทำหน้าที่เพิ่มเติม ที่ช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ต้องเพิ่มต้นทุน ลดความซับซ้อน และสามารถสร้างเครือข่ายบล็อกเชนและบริการของตนเองได้ โดย EigenLayer เข้ามาแก้ปัญหา bootstrapping หรือจุดหมายของการเริ่มต้นใหม่ของผู้เข้าร่วมเครือข่ายหรือโหนดเพื่อการเข้าร่วมเครือข่ายบล็อกเชนที่มีอยู่ สำหรับสร้างบริการ Web3 ใหม่ด้วยการรวบรวมเครือข่ายผู้ดำเนินการที่พร้อมใช้งาน แทนที่การเริ่มต้นสร้างใหม่ทั้งหมด

ประโยชน์หลักในการสร้าง Actively Validated Services (AVSs) บน EigenLayer ได้แก่

— ความปลอดภัยระหว่าง Restaking: ใช้ประโยชน์จากกลไกการ Staking ของ Ethereum เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบริการของคุณ

— ให้ความสำคัญที่คุณค่าของการโครงาร: ใช้เวลาและทรัพยากรน้อยลงในการสะสมความปลอดภัยทางเศรษฐกิจตั้งแต่เริ่มต้น

— Bootstrap: เข้าถึงเครือข่ายผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว

— Decentralization และ ความน่าเชื่อถือ: สร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจายอำนาจที่มีความน่าเชื่อถือขนาดเล็ก

— Composability: บูรณาการกับระบบนิเวศ Ethereum ที่กว้างขึ้นได้อย่างราบรื่น

image

Restaking คืออะไร?

ความสัมพันธ์กันระหว่าง EigenLayer และ restaking คือ การนำสภาพคล่องที่ถูกล็อกเอาไว้กลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นความสามารถในการรับผลตอบแทนได้สองครั้งจากเงินทุนก้อนเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากการทำ staking แบบดั้งเดิมจะเป็นการ staking สินทรัพย์เอาไว้ในด้านการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายเท่านั้น แต่ EigenLayer ทำให้การ Staked Ethereum ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับโปรโตคอลได้หลายตัวได้ โดยแลกกับค่าธรรมเนียมโปรโตคอลและรางวัลจากแหล่งต่างๆ โดยไม่ต้องล็อกเงินทุนเพิ่มเติม ทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพด้านการเงินมากขึ้นและลดอุปสรรคในการเข้าสู่โปรโตคอลใหม่

image

Ecosystem of Actively Validated Services — Source: EigenLayer Whitepaper

ประโยชน์ของการทำ Restaking

— สำหรับโปรโตคอล : จุดหมายของการเริ่มต้นใหม่ของผู้เข้าร่วมเครือข่ายหรือโหนดเพื่อการเข้าร่วมเครือข่ายบล็อกเชนที่มีอยู่ หรือที่เรียกว่า bootstrapping การทำ restaking นี้ช่วยให้โปรโตคอลใหม่ๆ สามารถสร้างความปลอดภัยแบบรวมผ่าน EigenLayer ได้อย่างง่ายดาย แทนที่จะสร้างและดูแลเครือข่ายความน่าเชื่อถือของตัวเอง

— สำหรับผู้ตรวจสอบ หรือ restaker : การทำ staking เป็นแรงผลักดันสำคัญในการเพิ่มมูลค่าจากการทำ staked ETH ทำให้ผู้ตรวจสอบสามารถ ทำ staking ซ้ำได้ในโปรโตคอลต่างๆ ที่ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการของผู้ตรวจสอบ

— สำหรับเครือข่าย Ethereum : การทำ restaking ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้านเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับ Ethereum เนื่องจากความปลอดภัยเดิมที่เคยกระจัดกระจาย ย้ายกลับมาสร้างกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น ทำให้ Ethereum ปลอดภัยยิ่งขึ้นและมีต้นทุนการโจมตีที่แพงขึ้น

— การรักษาสมดุลจากการทำ restaking : สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้สำหรับ ETH ผ่านการทำ restaking > หากมีความต้องการ ETH มากขึ้น > อุปทานของ ETH ลดลงเนื่องจากผู้ ETH มีการ Staking ETH ของไว้ และผู้ซื้อรายใหม่มีการซื้อ ETH > ราคา ETH เพิ่มขึ้น > ผลตอบแทนใน ETH เพิ่มขึ้น

โทเคน EIGEN คืออะไร?

EIGEN หรือ EigenLayer เป็นโทเคนแบบ Universal Intersubjective Work บนระบบนิเวศ EigenLayer ออกแบบมาเพื่อ รักษาความปลอดภัย Actively Validated Services (AVS) กลไกการทำ staking เป็นการออกแบบมาแก้ไขข้อบกพร้องในการทำงานของ decentralized แตกต่างจากโทเคนดั้งเดิมที่เน้นการตรวจสอบอย่างเป็นกลาง แต่ EIGEN มาจัดการข้อผิดพลาดจัดการกับข้อผิดพลาดที่อาจไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางออนไลน์แต่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนนอกเครือข่าย

ตัวอย่างความสามารถของโทเคน EIGEN ที่นอกเหนือจากด้านการรักษาความปลอดภัยบนบล็อกเชน ได้แก่

— การ staking สำหรับ intersubjective faults บนแพลตฟอร์ม EigenLayer

— ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องทั่วทั้ง Actively Validated Services (AVS)

— สร้างแรงจูงใจและลงโทษผู้ประกอบการตามผลการปฏิบัติงานของผู้เข้าร่วม

image

หลักการทำงานองโทเคน EIGEN สำหรับระบบนิเวศ Eigen — ที่มา Eigen Foundation

ข้อมูลน่าสนใจด้านราคาของ EIGEN

image

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Coinmarketcap เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เหรียญ EIGEN มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market cap) ที่ 440,310,843 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 14,914,050,735 บาท

ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ โทเคน EIGEN ซื้อขายกันอยู่ที่ราคาประมาณ 1.87 ดอลลาร์ หรือประมาณ 63.50 บาทต่อ 1 EIGEN โดย EIGEN เคยทำราคาสูงสุด (All-time high) ที่ 5.65 ดอลลาร์ หรือประมาณ 191.44 บาท ต่อ 1 EIGEN เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2024

อ้างอิง: EigenLayer, EigenLayer Documents, Consensys, Hacken, Ben Wee Medium, CoinMarketCap, Cointelegraph

— — — — — — — — — — — — — — — — —

คำเตือน:

- สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

- ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

— — — — — — — — — — — — — — — — —

EigenLayer: The Ethereum Protocol Redefining Blockchain Restaking

image

What is EigenLayer?

EigenLayer is a protocol built on Ethereum for restaking, which is a new approach for Web3 builders. It aims to remove a key obstacle faced by many DApps by providing a security framework for developers. This protocol allows validators to make their staked ETH more useful while maintaining security and providing services as secure as the staked ETH network.

Why was EigenLayer developed?

Ethereum is a secure foundation for decentralized applications and has become the best base layer. However, many Web3 builders want to push the boundaries of Ethereum’s processing capabilities and offer secure off-chain services to the community.

EigenLayer therefore acts as an add-on that allows developers to build infrastructure without increasing costs, reducing complexity, and enabling them to create their own blockchain networks and services. EigenLayer solves the bootstrapping problem. This allows for the creation of new Web3 services by assembling a network of available operators, rather than starting from scratch.

The main benefits of building Actively Validated Services (AVSs) on EigenLayer are:

— Security through Restaking: Leverage Ethereum’s staking mechanism to secure your services.

— Focus on your core value proposition: Spend less time and resources bootstrapping economic security from scratch.

— Rapid bootstrapping: Quickly access a large and experienced network of operators.

— Decentralization and trust: Build decentralized infrastructure with trust minimized.

— Composability: Seamlessly integrate with the broader Ethereum ecosystem.

image

What is Restaking?

The relationship between EigenLayer and restaking lies in its ability to reuse locked liquidity, essentially enabling you to earn yields twice from the same capital. This differs from traditional staking, where assets are staked solely for network security. EigenLayer allows staked Ethereum to secure multiple protocols simultaneously in exchange for protocol fees and rewards from various sources, without locking up additional capital. This makes the process more capital-efficient and reduces the barrier to entry for new protocols.

image

Ecosystem of Actively Validated Services — Source: EigenLayer Whitepaper

Benefits of Restaking

— For protocols: Restaking solves the bootstrapping problem, which refers to the need for new network participants or nodes to join an existing blockchain. This allows new protocols to easily establish shared security through EigenLayer, rather than building and maintaining their own trust networks.

— For validators or restakers: Restaking is a key driver in increasing the value derived from staked ETH. It allows validators to re-stake on various protocols, which reduces their operating costs.

— For the Ethereum network: Restaking enhances the economic security of Ethereum. By consolidating previously fragmented security, it makes Ethereum more secure and increases the cost of attacks.

— Maintaining balance through restaking: Restaking can generate higher returns for ETH. If demand for ETH increases, the supply of ETH decreases as holders stake their ETH and new buyers purchase ETH. This leads to an increase in ETH price and, consequently, an increase in ETH returns.

What is the EIGEN token?

EIGEN, or EigenLayer, is a “Universal Intersubjective Work” token within the EigenLayer ecosystem. It is designed to secure Actively Validated Services (AVSs). Its staking mechanism is designed to address shortcomings in decentralized operations. Unlike traditional tokens that focus on neutral validation, EIGEN handles errors that may not be provable online but can be clearly identified off-chain.

Examples of EIGEN token capabilities beyond blockchain security include:

— Staking for intersubjective faults on the EigenLayer platform.

— Performing validation across Actively Validated Services (AVSs).

— Incentivizing and penalizing operators based on participant performance.

image

EIGEN Token principles to empower the EigenLayer ecosystem — Source: Eigen Foundation

Interesting Price Information for EIGEN

image

According to data from the CoinMarketCap website on February 4, 2025, EIGEN token has a market capitalization of $440,310,843 USD, equivalent to approximately 14,914,050,735 THB.

At the time of writing this article, the EIGEN token is trading at around $1.87 USD or approximately 63.50 THB per EIGEN. The token reached its all-time high (ATH) of $5.65 USD or approximately 191.44 THB per EIGEN on December 17, 2024.

Source: EigenLayer, EigenLayer Documents, Consensys, Hacken, Ben Wee Medium, CoinMarketCap, Cointelegraph

— — — — — — — — — — — — — — — — — —

Disclaimer:

-Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.

-Past Returns do not guarantee future returns/performance.

— — — — — — — — — — — — — — — — — —

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Napisa Wisuttipun | 28 เม.ย. 68 | อ่าน: 538
บทความล่าสุด