บทความ

6 กลโกงโลกคริปโตที่ต้องระมัดระวังในปี 2024

image

เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลยังคงดึงดูดทั้งนักลงทุนและมิจฉาชีพ การทำความเข้าใจกลวิธีการหลอกลวงเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณปกป้องทรัพย์สินและหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลได้ บทความนี้จะนำท่านไปดูตัวอย่างกลโกงที่พบบ่อยที่สุด 6 ประเภทที่ควรระวังก่อนลงทุน

1.หลอกลวงให้ลงทุน เป็นการล่อลวงเหยื่อด้วยการสัญญาว่าจะให้ โดยการแบ่งผลกำไร มิจฉาชีพมักใช้เว็บไซต์ปลอมที่มีการรับรองจากคนดังเพื่อให้ดูเหมือนถูกต้อง เมื่อคุณลงทุน เว็บไซต์จะหายไปพร้อมกับเงินลงทุน ภัยคุกคามเหล่านี้คล้ายกับโครงการ Ponzi ที่เหยื่อถูกหลอกให้ใส่เงินมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่มิจฉาชีพจะหายตัวไป

image

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์หลอกลวงให้ลงทุน — ที่มา Cyberfraudcentre

2.หลอกลวงโดยการแอบอ้าง เป็นการหลอกลวงของอาชญากรรมไซเบอร์ที่แอบอ้างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อโน้มน้าวเหยื่อให้ทำธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งอาจแอบอ้างอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ธนาคาร หรือแม้แต่ดารา โดยมิจฉาชีพมักติดต่อทางอีเมลและขอให้ชำระเงินผ่านสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตามคริปโทเคอร์เรนซีไม่ได้รับการควบคุมหรือใช้ในการทำธุรกรรมอย่างเป็นทางการอย่างกว้างขวาง จึงควรระวังอีเมลใดๆ ที่ขอชำระเงินด้วยคริปโต

image

ตัวอย่างการแอบอ้างเป็น Ledger Support Team ผู้พัฒนาและผลิตกระเป๋าฮาร์ดแวร์ สำหรับเก็บและรักษาสกุลเงินดิจิทัล — ที่มา Abnormal

3.ภัยคุกคามฟิชชิง เป็นการใช้อีเมลหรือข้อความจากมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ ในกรณีของการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งนี้ เป็นในลักษณะคำขอชำระเงินรูปแบบของสกุลเงินดิจิทัล มักแอบอ้างเป็นบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมายที่เปิดตัว Initial Coin Offering (ICO) หลอกให้ Log in เข้าสู่ระบบหรืออีเมลในลักษณะขอตรวจสอบความปลอดภัยของบัญชีที่เกี่ยวกับคริปโต เป็นต้น

image

ตัวอย่างฟิชชิงที่มาในรูปแบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยว่ามีคนพยายามลงชื่อเข้าใช้บัญชีของคุณ — ที่มา SpyWarrior

4.หลอกลวงผ่านโซเชียลมีเดีย อาชญากรไซเบอร์มักใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่โฆษณาปลอมหรือโพสต์ที่ส่งเสริมการหลอกลวงคริปโต พวกเขาอาจใช้บัญชีบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ถูกแฮ็กหรือปลอมเพื่อกระตุ้นผู้ติดตามให้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี จึงต้องระวังคำขอชำระเงินคริปโตจากในโซเชียลมีเดีย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเป็นการหลอกลวง

image

ตัวอย่างการใช้บัญชีโซเชียลมีเดียของ Vitalik Buterin ในการหลอกลวง — ที่มา Coindesk

5.แอปพลิเคชันปลอม แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีปลอมจะได้รับการออกแบบให้ดูเหมือนแพลตฟอร์มที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่สร้างขึ้นเพื่อขโมยเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อเหยื่อดาวน์โหลดแอปและโอนสินทรัพย์ดิจิทัล มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงบัญชีและดูดเงิน ก่อนดาวน์โหลดให้ตรวจสอบความถูกต้องของแอปผ่านแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการ

image

ตัวอย่างแอปพลิเคชันปลอม — ที่มา VNExpress

6.หลอกลวงขุดบิทคอยน์บน Cloud การหลอกลวงนี้ คือการเสนอให้เหยื่อเช่าพลังประมวลผล ซึ่งมิจฉาชีพจะให้การแอบอ้างว่าเป็นการออกแบบมาเพื่อขุดบิทคอยน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบอกว่าเงินที่เหยื่อจะได้มาจากขุดสามารถจ่ายค่าเช่าพลังประมวลผลได้หลายเท่า โดยในความเป็นจริงแล้ว ค่าเช้าไม่ได้ทำให้ได้รับเงินเลย แต่เป็นแก๊งมิจฉาชีพต่างหากที่ได้รับประโยชน์จากขุด

image

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ออกแบบมาเพื่อเป็นแพลตฟอร์ม Bitcoin mining — ที่มา PCrisk

ที่มา : Cyber Fraude Centre, Abnormal Security, Kaspersky, CoinDesk, Protos

คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

— — — — — — — — — — — —

6 Popular Crypto Scams to Watch Out for in 2024

image

As digital assets continue attracting investors and fraudsters, understanding these deceptive tactics can help you protect your assets and avoid falling victim to cryptocurrency-related cybercrime. This article will guide you through six of the most common scams to watch out for before investing.

1.Investment Scams: These involve enticing victims with promises of high returns by sharing profits. Fraudsters often use fake websites endorsed by celebrities to appear legitimate. Once you invest, the website disappears, along with your investment. These threats are similar to Ponzi schemes, where victims are tricked into investing more and more money before the fraudsters disappear.

image

Examples of investment scam websites — Source: Cyberfraudcentre

2.Impersonation Scams: Cybercriminals impersonate trusted sources or individuals to persuade victims to conduct cryptocurrency transactions. These scams often involve impersonating government officials, credit card providers, banks, or even celebrities. Fraudsters typically contact victims via email and request payment in cryptocurrency. However, cryptocurrencies are not widely regulated or used for official transactions, so any email requesting payment in crypto should be treated with caution.

image

An example of an impersonation of Ledger Support Team, a developer and manufacturer of hardware wallets for storing and maintaining digital currencies — Source: Cyberfraudcentre

3.Phishing Attacks: Phishing attacks involve emails or messages from fraudsters posing as trusted sources. In the case of cryptocurrency phishing scams, these typically involve requests for payments in digital currencies, often impersonating legitimate companies launching Initial Coin Offerings (ICOs). These scams may ask victims to log in or provide personal information under the pretext of verifying their crypto account security.

image

An example of phishing comes in the form of a security alert that someone is trying to sign in to your account — Source: Abnormal

4.Social Media Scams: Cybercriminals use social media platforms to spread fake advertisements or posts promoting crypto scams. They may use hacked or counterfeit accounts of famous individuals to encourage followers to invest in cryptocurrencies. Be wary of any requests for crypto payments on social media as these are likely scams.

image

An example of Vitalik Buterin’s use of social media accounts to commit fraud — Source: SpyWarrior

5.Fake Applications: Fake cryptocurrency applications are designed to look like legitimate platforms but are created to steal money or personal information. Once victims download the app and transfer digital assets, fraudsters can access their accounts and drain funds. Always verify the authenticity of an app through official sources before downloading.

image

Examples of fake applications — Source: Coindesk

6.Cloud Mining Scams: These scams involve offering victims the opportunity to rent computing power, which fraudsters falsely claim is designed for efficient Bitcoin mining. They promise that the money earned from mining will easily cover the rental costs. In reality, the rental fees do not generate any returns, and only the scammers benefit from the mining operation.

image

Example of a fake website designed to be a Bitcoin mining platform — Source: VNExpress

Disclaimer:
Cryptocurrency and digital tokens involve high risks; investors may lose all investment money and should study information carefully and make investments according to their own risk profile.

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Napisa Wisuttipun | 14 พ.ย. 67 | อ่าน: 2,036
บทความล่าสุด