บทความ

What is Cardano (ADA)— Coins Directory (Bitkub.com)

image

Cardano คือ แพลตฟอร์มสมาร์ทคอนแทรคท์ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2015 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนา Cryptocurrency ให้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

ทางผู้พัฒนากล่าวว่า Cardano เป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 ที่ระบุและแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในบล็อกเชนยุคก่อนๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มขยาย (Scalability), ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) และ ความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านสถาปัตยกรรมแบบเป็นลำดับชั้น (layered architecture)

โดยปกติแล้ว White paper ทั่วไปจะประกอบไปด้วยโค้ด (Code) เป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากของ Cardano ตรงที่มันจะประกอบไปด้วย แนวคิดของหลักการดีไซน์, การดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็น Cryptocurrency ตัวแรกๆเลยที่สร้างขึ้นมาจากแนวคิดปรัชญาที่อิงหลักการทางวิทยาศาสตร์และประกอบไปด้วยงานวิจัยทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทีมงานผู้พัฒนา Cardano จึงมั่นใจได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิจัยหรือวิศวกรรมจะได้อ่าน ทบทวน และมีความเห็นที่ตรงกันต่อผลลัพธ์ที่สามารถเป็นไปได้

บล็อกเชนของ Cardano ถูกพัฒนาบนเลเยอร์ 2 ชั้น ชั้นแรกคือสมุดบัญชีที่เอาไว้จดบันทึกมูลค่าของบัญชีนั้นๆ ชั้นที่สองคือ การบันทึกเหตุผลในการทำธุรกรรมนั้นๆ

Cardano Settlement Layer (CSL) — CSL ทำหน้าที่บันทึกมูลค่าของบัญชี โดยมีไอเดียที่พัฒนามาจากบล็อกเชนของ Bitcoin โดยจะใช้ คอนเซนซัสอัลกอริทึม แบบ proof-of-stake ในการสร้างบล็อกใหม่และยืนยันการทำธุรกรรม

Cardano Computation Layer (CCL) — CCL ประกอบไปข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำธุรกรรม เนื่องจากเลเยอร์ชั้นนี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับ CSL ผู้ใช้งานจึงสามารถกำหนดเงื่อนไขได้เองเมื่อทำการประเมินการทำธุรกรรม

Charles Hoskinson หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum เป็นผู้ริเริ่มคิดค้น Cardano เขาเชื่อว่าผู้คนยังมีความต้องการบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 เพื่อที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเทคโนโลยีบล็อกเชนยุคก่อนหน้า

Bitcoin เป็นตัวแทนของบล็อกเชนยุคแรก มันช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างกลุ่มผู้คน แต่มันมีข้อจำกัดในการทำธุรกรรมทางการเงินบางประเภทอีกทั้งยังไม่สามารถสร้างเงื่อนไขลงบนการทำธุรกรรมนั้นๆได้ Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 2 ได้แก้ไขปัญหาที่ข้างต้นด้วยการสร้างสมาร์ทคอนแทรคท์ (smart contract) อย่างไรก็ตาม นาย Charles ได้อธิบายว่า Ethereum และ Bitcoin ไม่มีคุณสมบัติที่ดีพอสำหรับการปรับเพิ่มขยาย (Scalability) ยิ่งไปกว่านั้นเองระบบการกำกับดูแลก็ไม่ดีเท่าที่ควรจากการที่เกิดฟอร์ค (fork) ขึ้น เช่น Bitcoin Cash และ Ethereum Classic

การเพิ่มขยาย (Scalability) สามารถแยกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้:

1. จำนวนธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที — Bitcoin สามารถจัดการได้ 7 ธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที ส่วน Ethereum สามารถทำได้ 15–20 ธุรกรรม ต่อหนึ่งวินาที ซึ่งในการที่จะเป็นระบบการชำระเงินที่รองรับได้ทั้งโลกจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบล็อกเชนที่จะต้องรองรับและจัดการการทำธุรกรรมปริมาณมากได้

การแก้ปัญหาของ Cardano:

โปรโทคอลโอโรโบรอส (Ouroboros Protocol) อ้างอิงจาก proof-of-stake ที่สามารถเพิ่มจำนวนการจัดการธุรกรรมต่อวินาทีได้มากกว่า proof-of-work

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Proof-of-Work vs. Proof-of-Stake ได้ที่นี่

2. เครือข่ายแบนด์วิดท์ — ถ้าจำนวนผู้ใช้งานขยายตัวมากขึ้นถึงหนึ่งล้านหรือหนึ่งพันล้านคนแล้ว เราจะต้องใช้แบนด์วิดท์มากถึง 100 mb — 1 tb ต่อวินาทีในการประมวลผลผ่าน internet ซึ่งมันไม่สามารถเป็นไปได้เลยที่จะเข้าถึงโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์อันเดียวกัน โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network topology) หมายถึง Node ทุกตัวในเครือข่ายจำเป็นที่จะต้องรับส่งข้อความทุกข้อความ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น Node ทุกตัวอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีทรัพยากรเพื่อที่จะรับส่งข้อมูลในเครือข่าย

การแก้ปัญหาของ Cardano:

RINA (Recursive Inter-Nerwork Architecture) คือเครือข่ายชนิดใหม่ที่สร้างขึ้นโดย นาย John Day โดยมีจุดประสงค์คือสร้างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยอ้างอิงจากหลักการที่ว่าระบบเครือข่ายเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรเซส (Inter Process Communication, IPC) โดยทาง Cardano เองหวังว่ามันจะช่วยให้ โปรโทคอล TCP/IP ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และทำให้เกิดทางเลือกใหม่ในการประมวลผลข้อมูลในเครือข่าย

3. การสเกลลิ่งข้อมูล — บล็อกเชนจะบันทึกข้อมูลทุกข้อมูล ไม่ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องและจำเป็นหรือไม่ก็ตาม บล็อกเชนทำงานได้โดย node ซึ่งแต่ละตัวจะเก็บสำเนาของบล็อกเชนไว้ในระบบ เมื่อระบบมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น การบันทึกข้อมูลจะใช้พื้นที่มากขึ้นซึ่งตรงนี้เองที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหา เพราะ node ทุกตัวไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้

การแก้ปัญหาของ Cardano:

Cardano มีหลักการในการแก้ปัญหาที่ง่ายมาก โดยกล่าวไว้ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องการข้อมูลทุกอย่าง” Cardano เองได้พิจารณาถึง การตัดข้อมูล (Pruning), การสมัครรับข้อมูล (Subscription) และการบีบอัดข้อมูล (Compression) ซึ่งถ้าเรารวมสามสิ่งนี้เข้าด้วยกัน มันก็จะทำให้ปริมาณข้อมูลที่ผู้ใช้งานแต่ละคนต้องบันทึกลงในระบบน้อยลงได้ อีกวิธีที่หนึ่งก็คือแบ่งข้อมูลเป็นส่วนๆ (Partitioning) หมายความว่าผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลแค่บางส่วนของบล็อกเชนได้แทนที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดในบล็อกเชนไว้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: bitkub.com | 07 ธ.ค. 64 | อ่าน: 1,007
บทความล่าสุด