บทความ
CRYPTO (2019) (หนังใหม่เรื่องคริปโตที่คุณอาจไม่เคยรู้) — Bitkub.com
หนังเกี่ยวกับคริปโตโดยเฉพาะที่กำลังจะเข้าโรงในต่างประเทศ วันที่ 12 เมษายน 2019 นี้ หวังให้ผู้คนรู้จักคริปโตมากขึ้น ในภาพยนตร์เรื่องนี้ทุกท่านคงจะได้เห็นการใช้งานของคริปโตในด้านที่ดีและไม่ดี และจะได้เห็นถึงการกล่าวถึงคริปโตหลักๆเช่น Bitcoin Ethereum และ Stellar
ในที่นี้ยังมีคนในโลกอีกมากมายที่ยังไม่รู้จักดีพอว่าคริปโตคืออะไร และการสือสารผ่านหนังที่คนดูทั่วโลกอาจจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ทุกคนรู้จักคริปโตมากขึ้นก็เป็นได้
และยังมีหนังอีกหลายๆเรื่องที่ทาง Bitkub เองได้คัดสรรมา โดยรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับตลาดหุ้นและสามารถโยงถึงตลาดคริปโตได้
1. Margin Call (2011)
เป็นหนังที่ยึดการเอาตัวรอดในตลาดสินเชื่อโดยนำอสังหาฯเป็นหลักคํ้าประกัน
พอร์ตของธนาคารกู้เงินเพื่อซื้อสินเชื่อที่มีอสังหาฯเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งปล่อยกู้ให้ผู้ที่มีเครดิตต่ำแล้วนำมาเรียงแพ็คใส่ห่อใหม่ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินชื่อว่า Mortgage-Backed Securities (MBS)
ความเสี่ยงอยู่ตรงที่การทำออกมาเป็น MBS นั้นใช้เวลา ดังนั้นพอร์ตจึงถือสินเชื่อคุณภาพต่ำเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งโมเดลได้บอกว่าความผันผวนของพอร์ตได้มากกว่าระดับที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว หากมูลค่าของสินทรัพย์ลดลงเพียง 25% ผลขาดทุนจะสูงกว่ามูลค่าของบริษัท ส่งผลให้ล้มละลาย
“สามารถเปรียบเทียบได้กับตลาด Bitcoin ที่ราคานั้นผันผวนอยู่ตลอดเวลาดังนั้น เมื่อราคาตกไปมากจนล้มจงพยายาม “ล้มแล้วต้องเจ็บน้อยที่สุด” Cut loss จึงเป็นสิ่งสำคัญ”
2. The Big Short (2016)
ภาพยนตร์เริ่มต้นเล่าเหตุการณ์ในปี 2005 เมื่ออดีตนายแพทย์ผู้ผันตัวมาเป็นผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ นามว่า ไมเคิล เบอร์รี่ (Michael Burry) พบว่าในตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการก่อตัวของฟองสบู่ขนาดมหึมาอันเกิดจากความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีเครดิตต่ำ (Subprime) ซึ่งซ่อนอยู่ใน Collateralized Debt Obligation (CDO) หรือหลักทรัพย์ที่เกิดจากการมัดรวมหนี้สินเชื่อเข้าด้วยกัน
เขาจึงเปิดเกมเข้าซื้อตราสารอนุพันธ์ที่ชื่อว่า Credit default swaps (CDS) กับสถาบันการเงินต่างๆ ไปทั่ว ตราสารตัวนี้ทำหน้าที่เสมือนประกันว่าตลาดอสังหาฯ จะพินาศลง ซึ่งคล้ายกับการเปิดโอกาสให้เขาสามารถ short ตลาดอสังหาฯ นั่นคือเขาเดิมพันว่ามูลค่าของตลาดอสังหาฯ จะลดลง โดยยอมจ่ายค่าเบี้ยประกัน (CDS spread) ในแต่ละปี
“ในที่นี้เราสามารถโยงถึงการเล่น Bitcoin แบบ Margin ได้เช่นเดียวกับการเล่นหุ้นหรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน โดยนักลงทุนทำกำไรจากการเล่นตรงข้ามกับตลาด นักลงทุนที่ทำ Short ยืมของมาขายแพงก่อนแล้วค่อยซื้อถูกกลับไปคืนที่ยืมมา ฉะนั้นเมื่อปี 2018 ที่ตลาดคริปโตพังลงอย่างมหาศาลไม่ได้หมายความว่าจะมีแต่ผู้เสีย”
3. Rogue Trader (1999)
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี คศ. 1992 เมื่อเด็กหนุ่มวัย 28 ปี Nick Leeson ได้เริ่มต้นอาชีพจากการเป็น เทรดเดอร์เล็ก ๆ ในอังกฤษ และถูกโปรโมต์ไปเป็นผู้จัดการฝ่ายเทรดเดอร์ ของ Baring สาขาสิงคโปร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักของเขาในการดูแล การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ โดยในปีแรก ๆ ของการลงทุนการมีความหอมหวนในการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้จัดการคนนี้สามารถทำกำไรจากตลาด Future ที่อ้างอิงดัชนี Nikkei 225 หรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น โดยเทคนิคที่สำคัญของนักเล่นหุ้นคนนี้ (ชอบสไตล์เดียวกันกับนักเล่นหุ้นเก็งกำไรแบบคนไทยเลยครับ) คือ ชอบเล่นสั้น ๆ หวังดัชนีรีบาวน์(ดีดกลับ)
ในช่วงที่ผ่านมา Nick Leeson สามารถทำกำไรในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นได้ตลอด ทำให้เขาทุ่มเงินมหาศาลเกิน 100% ไปกับการลงทุนครั้งถัดมา แต่ทว่าผลไม่เป้นใจตามที่คิดเนื่องจากมีแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น และทำให้เขาสูญเงินและขาดทุนไปมากกว่า $512 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่ด้วยความมั่นใจของเขาจึงไปยืมเงินจำนวนมากเพื่อมาลงทุนต่อแต่ผลก็ไม่เป็นใจอย่างที่คิด จนผลสุดท้ายบริษัทขาดทุนไปกว่า $1.3 ล้านดอลล่าร์ และปิดตัวลงไป
“ในทุกการลงทุนอาจจะไม่ต่างกับการพนันมากนั้น มีทั้งความเสี่ยงมากและน้อยไม่ต่างกัน แต่ถ้าคุณสามารถแบ่ง Portfolio กระจายเงินของคุณได้และมีการจัดการเรื่องการเงินที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใน Bitcoin สามารถทำกำไรได้ และเมื่อเสีย อาจจะไม่เสียมากจนเกินไปและทำให้ชีวิตพังลง”
*Bitkub ไม่เกี่ยวข้องกับหนังที่เราได้เสนอแต่อย่างใด ทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม*
*โพสเป็นโพสให้ความรู้และไม่ใช่การแนะนำหรือชักชวนผู้เล่นมาเทรด*
#Crypto #cryptocurrency #movie #bitcoin #ethereum #stellar #bitkub
Cr finnomena #Imdb #blockbuster #hollywood
ที่มา:
Medium