บทความ

อยากโอนเหรียญเข้า Exchange ไวๆ ทำอย่างไรให้ถูกต้อง !?

image

แทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในคำถามที่ทางทีมงาน Bitkub.com ได้รับมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือประโยคดังข้างต้นนี้ ต้องอธิบายก่อนว่าการโอนเหรียญออกจาก

กระเป๋า > กระดานเทรด
กระเป๋า > กระเป๋า
กระดานเทรด > กระดานเทรด
กระดานเทรด > กระเป๋า

ทุกธุรกรรมล้วนจะถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชนทั้งสิ้น ดังนั้นกระบวนการทั้งหมดนี้ย่อมต้องมีการกระบวนการในการบันทึก, ขุด หรือ confirm block (จัดเก็บธุรกรรมลงในบล็อกของบล็อกเชน) ซึ่งตรงนี้นี่เองที่จะเป็นช่วงที่ผู้ใช้จำเป็นต้อง “รอคิว” ให้ออร์เดอร์ของตนเองได้รับการยืนยันหรือจัดเก็บข้อมูลให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะถือว่าทำธุรกรรมสำเร็จ > เงินเข้ากระเป๋า > แฮปปี้! เทรดได้! ความเร็วของ Blockchain ของแต่ละเหรียญก็ไม่เท่ากัน เนื่องจากอยู่คนระบบ ฉะนั้นต้องดูความเร็วของแต่ละ network ดีดี และมีบางบล็อกเชนที่ วิธีการโอนก็ไม่เหมือนกัน บางอันจำเป็นต้องใส่ Memo/Tag เพื่อให้จำนวนเงินเข้าระบบผู้ใช้

แต่ความจริงคือเหรียญแต่ละเหรียญที่ถูกซื้อขายในท้องตลาดนั้นต่างก็มีการใช้และเข้าถึงจากผู้คนทั่วโลก นั่นหมายความจำนวนธุรกรรมที่จะถูกสร้างขึ้นมานั้นมันมหาศาลมาก! ยิ่งโดยปกติแล้วกระเทรดเทรดที่เป็น Centralized exchange (ไม่ว่าจะ Global หรือ Local exchange) ส่วนมากจะมีกระเป๋าเงินแยกเป็น 2 กระเป๋านั่นคือ

Hot Storage ส่วนมาก exchange จะจำกัดจำนวนเหรียญที่เก็บใว้ใน hot storage ให้พอกับการใช้งาน เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายเดือน เพื่อป้องกันความเสี่ยในกรณีที่ถูก penetrate จะได้ไม่เสียหายมาก แต่หากมีผู้ใช้งานเพิ่มเป็นจำนวนมากกว่าปกติในระยะเวลาอันสั้น จะทำให้จำนวนเงินใน hot storage ไม่พอเพียงในการโอนออกให้กับลูกค้า

ดังนั้นจึงต้องมีการโอนจาก cold storage มาเติมให้กับ hot storage ซึ่งวิธีการโอนนี้อาจมีการใช้ระยะเวลาที่นานเนื่องจากขั้นตอนทางด้านความปลอดภัย

Cold Storage กระเป๋าที่จัดเก็บเงินสำรองหรือเก็บรวบรวมเงินก้อนใหญ่ของลูกค้าที่นำมาฝากเอาไว้จะเรียกว่าเปรียบเสมือน “ตู้เซฟใหญ่” ของแต่ละกระดานเทรดก็ไม่ผิดนัก ส่วนมากต้องใช้คีย์ในการเข้าถึงอย่างน้อย 2–3 คีย์พร้อมกันถึงจะเปิดออกมาได้ ในการที่จะเอาเหรียญเข้าไปเก็บหรือโอนเหรียญออกจากกระเป๋าตรงนี้ ต้องเสียเวลารอผู้ที่มีคีย์เข้ามาจัดการพร้อมๆ กัน ซึ่งนั่นหมายความว่าทุกธุรกรรมที่จะทำกับกระเป๋าประเภทนี้ คือต้องมีการวางแผนงานมาอย่างเป็นระบบ ดังนั้นกระเป๋าเงินแบบนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกระเป๋าที่มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูงแต่ก็แลกด้วยเวลาที่ผู้ใช้บริการต้องรอพอสมควร (ถ้าเหรียญที่สำรองไว้ใน Hot Storage ดันหมดคลัง)

และโดยปกติทั่วไปแล้วในการโอนเหรียญจากที่นึงไปยังที่นึง เหรียญส่วนมากมักจะต้องมีการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม ซึ่งตรงนี้เองก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการรอคิว แต่ก็มีวิธีสังเกตง่ายๆ เช่นกันว่าธุรกรรมนั้นได้มีการ “ปล่อยออกมา” จากกระดานเทรดหรือยังนั่นก็คือ “การเช็คจาก Transaction นั่นเอง

ซึ่งโดยทั่วไปเวลาเราทำออร์เดอร์ถอนออกจากกระเป๋าหรือกระดานใดทางเว็บจะมีการแจ้ง “รหัสธุรกรรมมาให้” เหมือนกับเป็นรายละเอียดคิว/ธุรกรรม ว่าชื่ออะไร จากนั้นเราก็ต้องไปเช็คในเว็บ Block explorer ตามระบบบล็อกเชนนั้นๆ ของเหรียญต่างๆ ที่เราทำการโอน

ซึ่งในส่วนนี้เอง หากธุรกรรมใดได้ถูกสร้างขึ้นและมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมออกจากกระดานเทรดแล้ว หากนำเลข “รหัสธุรกรรม” นั้นๆ ไปค้นหาก็จะเจอโดยง่าย โดยหากธุรกรรมใดที่ปล่อยออกมาแล้วเริ่มได้รับการ confirm แล้ว ท่านผู้โอนก็เพียงแต่รอให้ยอดคอนเฟิร์มครบตามจำนวน หรือธุรกรรมถูกจัดเก็บลงในระบบเรียบร้อย หลังจากนั้นไม่นานยอดเงินที่โอนออกก็จะเข้าสู่ปลายทางในเวลาไม่นานนัก ซึ่งส่วนมากเวลาสั่งโอนเหรียญจากกระดานไหนแล้วช้ามากๆ ก็มักมีอยู่ 5 สาเหตุหลักๆ จาก 108 ข้อ นั่นก็คือ

image

1. เหรียญที่ถูกจัดเก็บไว้ใน Hot Storage ของ exchange เกิดขาดแคลนต้องรอการย้ายเหรียญจากกระเป๋าสำรอง
2. เหรียญที่จะทำธุรกรรมมีคิวที่รอจำนวนมหาศาล (ส่วนมากมักเป็นข้อนี้ ซึ่งเราก็ได้แนบลิงก์ของเว็บสำหรับตรวจเช็คมาไว้ในแล้วในท้ายข้อความ)
3. ระบบบล็อกเชนของเหรียญนั้นๆ มีปัญหา หรือล่ม (อันนี้ก็เจอบ่อย สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บ Block explorer ต่างๆ เช่นกัน)
4. โอนผิด address (จะไม่เข้าเลย)
5. โอน xrp หรือ stellar ไม่ได้ใส่แท็ก** (Destination Tag สำคัญมาก สำหรับ Exchange เนื่องจากกระเป๋า Xrp หรือ Stellar ไม่มีกระเป๋าลูกแบบเหรียญอื่นๆ แท็กจะมีหน้าที่แทนการแยกเหรียญของลูกค้า)

ทางด้านล้างนี้เป็นลิงก์ค์สำหรับเช็คการทำธุรกรรมของเหรียญทั้งหมดที่ถูก List ไว้ใน Bitkub

โดยเหรียญไหนใช้บล็อกเชนของอะไรอยู่ ท่านผู้อ่านสามารถเช็คได้ในภาพตารางที่แนบมากับบทความ

สามารถคลิกเข้าไปตรวจความเรียบร้อยในลิงก์แต่ละอันที่ได้แนบไว้ในบทความได้เลย

เว็บสำหรับเช็ค confirmation ของแต่ละบล็อกเชน

Bitcoin Blockchain https://www.blockchain.com/explorer
Ethereum Blockchain https://etherscan.io/
Stellar Blockchain https://dashboard.stellar.org/

#Own_blockchain เหรียญที่มีระบบเป็นของตัวเอง

XRP https://xrpcharts.ripple.com/#/
USDT https://www.omniexplorer.info/asset/31
ADA https://cardanoexplorer.com/
BCH, BSV https://blockchair.com/bitcoin-sv

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: bitkub.com | 12 ธ.ค. 64 | อ่าน: 57,665
บทความล่าสุด