บทความ
R3 corda ใครที่อยากเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านการเงินไม่ควรมองข้าม
ปี 2020 ที่ถือเป็นยุคทองของความก้าวหน้าและการพัฒนาของระบบการเงินและเทคโนโลยีหลากหลายแขนงในประเทศไทย โดยเฉพาะข่าวคราวของการขยับตัวของแบงค์ชาติที่ประกาศพัฒนาโครงการ “อินทนนท์” โปรเจคบล็อกเชนนำร่องบาทดิจิทัลที่เล็งใช้ได้ทั้งภาคการเงินระดับสถาบันการเงินไปจนถึงการต่อยอดสร้างระบบการใช้จ่ายเงินในระหว่างภาคครัวเรือนต่อไปในอนาคต โดยพัฒนาบนระบบ Corda ของ R3 เช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วถ้าพูดถึงพวกระบบบล็อกเชนโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักนึกถึงพวกบล็อกเชนของเหรียญชื่อดังทั้งหลาย เช่น Bitcoin Blockchain, Ethereum Blockchain , หรือแม้แต่พวก Ripple ซึ่งในปัจจุบันก็มีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ถูกสร้างออกมาเพื่อให้บริการ Payment Gateway เพื่อรองรับร้านค้าต่างๆ ที่ต้องการรับชำระสินค้่าและบริการเป็นสกุลเงินดิจิทัล แต่ก็ยังไม่มีรายใดที่ถูกพัฒนาให้ใหญ่มากพอและถูกใช้ในองค์กรภาครัฐที่ต้องรองรับธุรกรรมมหาศาลต่อวันได้ ยกเว้นเสียแต่ “R3 Corda”
แท้จริงแล้วชื่อ R3 และ Corda คืออะไร?
บริษัท R3 เป็นบริษัทขนาดยักษ์ที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรชั้นนำด้านสถาบันการเงิน ธนาคาร รวมไปถึงหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อร่วมกันพัฒนาละคิดค้นโครงการด้าน Blockchain ที่สามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านการเงิน
สำหรับประเทศไทยเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เลือกใช้ระบบ Corda ในการพัฒนาโปรเจค “อินนทนนท์” โปรเจคการเงินระดับสถาบัน
โปรเจค Corda เป็นโปรเจคแบบ Open source ที่มีชื่อเสียงที่สุดของกลุ่มบริษัท R3 ได้รับการยอมรับและความนิยมจากสถาบันการเงินและธนาคารทั่วโลก ในฐานะ World Class Blockchain for Enterprise ประเภท Financial Services
มาพร้อมแนวคิดและระบบที่เหนือกว่า
สำหรับระบบล็อกเชนโดยทั่วๆ ไปอย่างที่เรามักได้ยินที่ผ่านมา เราจะนึกถึงภาพโครงข่ายระบบการจัดเก็บข้อมูลขนาดยักษ์ที่ใครๆ ในเครือข่ายต่างก็ถือข้อมูลชุดเดียวกัน รับรู้ข้อมูลเหมือนๆ กัน แม้ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบการเข้ารหัสและชื่อบัญชีที่เป็นโค้ดลับ สิ่งนึงที่เหมือนๆ กันคือ “คนนอกที่ไม่เกี่ยวกับธุรกรรมนั้นๆ แต่อยู่ระบบในบล็อกเชนเดียวกันต่างก็รับรู้และเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนๆ กัน” ต่อให้การเข้าถึงเพื่อแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณมี “กุญแจ” หรือรหัสในการเข้าถึงกลุ่มข้อมูลในส่วนนั้นเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงคือถ้าเอาระบบนี้มาใช้ในภาคธุรกิจจริงๆ แม้จะมีความโปร่งใส แต่คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนักที่ข้อมูลภายในองค์กรถูกนำมาเปลือยให้ใครดูความลับในธุรกิจ หรือแม้กระทั่งปัญหาในเรื่องของความรวดเร็วในการทำธุรกรรมที่จะตามมา กว่าจะรันแจ้งข้อมูลให้ทุกคนในระบบทราบ > ตรวจสอบเงื่อนไข > ดำเนินขั้นตอนในการทำธุรกรรม ระบบจะใช้เวลาในการประมวลผลนานเกินความจำเป็น นึกภาพว่าถ้าเป็นโครงข่ายด้านการชำระเงินที่ต้องรองรับการทำธุรกรรมระดับแสนธุรกรรมต่อนาทีคงจะไม่สะดวกสบายนัก
จึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบการเงินรูปแบบใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ Corda ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มด้านการจัดการที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยระบบ Distribute Ledger Technology (DLT) บนระบบบล็อกเชน
โดยทั่วไปแล้วระบบ DLT นั้นเป็นข้อมูลที่สามารถทำให้ในการยืนยันในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง โดยมีการส่งสำเนาข้อมูลในการทำธุรกรรมไปให้ทุกคนในระบบ โดยแนวคิดของโปรเจค Corda นั้นเดิมทีเป็นการต่อยอดพัฒนาระบบ DLT ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
เป็นการสร้างแพลทฟอร์มที่ทำงานด้วยการยืนยันข้อมูลระหว่างผู้เกี่ยวข้องในธุรกรรมครั้งนั้นๆ เท่านั้น เช่น ผู้ซื้อ > สร้างออร์เดอร์ไปยังผู้ขาย > ระบบตรวจสอบออร์เดอร์ในคลังว่ามีของครบพร้อมจัดส่ง > ธนาคารธตรวจสอบว่ามียอดเงินเพียงพอและอนุมัติคำสั่งซื้ออัตโนมัติ > ระบบตรวจสอบเสร็จสิ้นและทำการจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อโดยอัตโนมัติ โดยการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมนั้นจะกระทำระหว่างคู่ค้าในระบบเท่านั้น
ก้าวที่สำคัญของความเปลี่ยนแปลงทางการเงิน
ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยเอง โปรเจคอินทนนท์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีตัวนี้มาช่วยพัฒนา ล่าสุด (ปี 2563) ได้มีความคืบหน้า นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองปรับเข้ากับระบบการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทระดับมหาชน SCG เพื่อทดลองนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในภาคเอกชนต่อไป
รวมไปถึงก้าวต่อไปธปท. เอง ทาง “คุณท็อป — จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบิทคัป แคปปิตอล กรุ๊ป โฮสดิงส์ เองก็ได้มีส่วนในการร่วมออกแบบระบบในส่วนของโปรเจ็ค CBDC นี้ด้วยเช่นกัน ต้องรอดูกันว่าสำหรับภาคประชาชนแล้วต่อไปจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากขนาดไหน แต่เป็นสัญญาณที่ดีมาก ที่ทางภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีนี้ในภาคการเงิน จึงเกิดเป็นการรวมตัวของภาคเอกชนและภาครัฐนี้ขึ้นมา
ที่มา:
Medium