บทความ
Crypto Weekly รวมข่าวคริปโต รายสัปดาห์ 26 มิ.ย. — 2 ก.ค. 2021
รวมข่าวเด่นในวงการคริปโตตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลย!
*เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการนำข่าวสารย้อนหลังตลอดช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจากเว็บไซต์ต่างประเทศมาเรียบเรียงและสรุปให้เข้าใจง่าย ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด
1.CEO ของ Celsius กล่าว “Bitcoin จะขึ้นไปถึง 160,000 ดอลลาร์ในปีนี้”
แม้ภาพรวมตลาดคริปโตยังค่อนข้างซบเซา ทาง Alex Mashinsky CEO และ Co-founder ของ Celsius ผู้ให้บริการด้านการกู้ยืมคริปโตแบบ Centralized แสดงมุมมองต่อทิศทางราคา Bitcoin ในเชิงบวกอย่างมาก โดยกล่าวกับ Cointelegraph ว่า “ราคา Bitcoin ปีนี้อาจขึ้นไปสูงถึง 160,000 ดอลลาร์ (5,145,920 บาท) หรือต่ำกว่านั้น เนื่องจากเรายังไม่เห็นระดับสูงสุดของปีนี้”
2.กองทุนเพื่อการลงทุนของ George Soros อาจกำลังลงทุนใน Bitcoin
มีรายงานว่า Soros Fund Management กองทุนเพื่อการลงทุนของมหาเศรษฐี George Soros อาจกำลังลงทุนใน Bitcoin ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการขยายขอบเบตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ดิจิทัล โดยรายงานระบุว่า Dawn Fitzpatrick, Chief investment officer ของ Soros Fund Managemen ได้อนุมัติให้กองทุนสามารถลงทุนใน Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
3.เตรียมพบฮีโร่ Marvel ในรูปแบบ NFT
Marvel จับมือกับ Orbis Blockchain Technologies เพื่อสร้าง NFT ของซุปเปอร์ฮีโร่ดังอย่าง Captain America, Spiderman หรือ Ironman รวมถึงคอมมิคของ Marvel โดยจะสามารถซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม VeVe Marketplace ได้ภายในปี 2022
4.คริปโตเติบโตกว่า 19,900% ในอินเดีย
รายงานจาก Bloomberg เผยว่าชาวอินเดียลงทุนใน Cryptocurrency ไปกว่า 38 พันล้านดอลลาร์ฯ (1.2 ล้านล้านบาท) ในปี 2020 โดยเติบโตกว่า 19,900% จากปีก่อนหน้า แม้จะยังไม่มีความแน่นอนในด้านกฏหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศก็ตาม
5.มหาเศรษฐีเม็กซิโกต้องการสร้างธนาคารที่รับ Bitcoin
Ricardo Salinas Pliego มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของเม็กซิโก และผู้ก่อตั้งธนาคาร Banco Azteca ประกาศว่ากำลังผลักดันให้ธนาคารของตนเปิดรับการฝาก-ถอน Bitcoin เป็นแห่งแรกของเม็กซิโก เพื่อส่งเสริมการก้าวหน้าสู่ระบบการเงินแห่งอนาคต
6.ปาเลสไตน์-อิสราเอลกำลังศึกษาคริปโตเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ
ปาเลสไตน์และอิสราเอลทั้ง 2 ประเทศแม้ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่ แต่ทั้งคู่ก็กำลังศึกษาเรื่องการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในประเทศของตน โดยปาเลสไตน์ศึกษาเพื่อลดการใช้สกุลเงินเชเกล ส่วนอิสราเอลกำลังวางแผนสร้าง CBDC เป็นของตัวเอง
https://decrypt.co/74575/israel-and-palestine-are-exploring-digital-currencies
6.Ethereum Classic เตรียม Hard Fork ในชื่อ Magneto
ทีมผู้พัฒนา Ethereum Classic (ETC) เตรียม Hard Fork ภายใต้ชื่อที่ชุมชนเรียกว่า Magneto ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในช่วงปลายเดือน ก.ค. นี้ โดยเล็งแก้ไขปัญหาค่า Gas fee ที่แพง และช่วยให้การทำธุรกรรมง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทดสอบใช้ไปแล้วบน Testnet ทั้ง 2 ของ ETC ได้แก่ Morder และ Kotti
7.Crypto.com ประกาศจับมือ Formula 1
Crypto.com ประกาศจับมือเป็นสปอนเซอร์ทางการให้กับ Formula 1 เพื่อสนับสนุนการสร้าง NFT ซีรีส์รถแข่งในอนาคต รวมถึงอาจมีการมอบรางวัลเป็นคริปโตในการแข่ง Formula 1 เร็ว ๆ นี้ โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 ก.ค. นี้
8.รัสเซียเตรียมทดลองใช้ Digital Ruble
Bank of Russia ประกาศร่วมมือกับธนาคารในประเทศ ได้แก่ Sberbank, VTB, Tinkoff และธนาคารอื่น ๆ รวม 12 ธนาคาร เพื่อร่วมกันทดลองใช้ Digital Ruble ที่เป็น CBDC (Central Bank Digital Currency) ภายในเดือนมกราคม ปี 2022 ขณะที่ทาง Olga Skorobogatova รองผู้ว่าแห่ง Bank of Russia ระบุว่า Digital Ruble จะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายที่กว้างขวางมากขึ้น และยังสามารถลดต้นทุนได้ด้วย
9.รถไฟฟ้าใต้ดินจีนรับ Digital Yuan
ชาวปักกิ่งสามารถชำระค่ารถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 24 สาย ด้วย Central Bank Digital Currency (CBDC) ของประเทศอย่าง Digital Yuan หรือ e-CNY ได้แล้ว โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มใช้งาน CBDC ในประเทศ
10.USDC อาจเติบใหญ่บน Ethereum
Messari เว็บไซต์ Cryptocurrency เผยมุมมองว่า USDC จะมีบทบาทสำคัญบน Ethereum มากขึ้นในอนาคต และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น “Stablecoin หลัก” ได้ เนื่องจากกระแสการใช้ USDC ร่วมกับ DeFi ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หากเป็นเช่นนั้น ส่วนแบ่งทางตลาดของ USDT อาจตกลงต่ำกว่า 50% ได้
ติดตามบทความ ข่าวสาร และความรู้ที่น่าสนใจในวงการคริปโตได้ที่ Bitkub Academy
บทความน่าสนใจ
Ferrari x Bitkub: BEYOND IMAGINATION
GQ Apparel จับมือ Bitkub ใช้เงินคริปโตเป็นเจ้าของสินค้า GQ ได้เเล้ว!
บิทคับมองไกล ช่วยเยาวชนและครอบครัวในชุมชนคลองเตยพ้นวิกฤติโควิด-19 ระยะยาว
Blockchain ทำได้มากกว่าสกุลเงินดิจิทัล
ที่มา:
Medium