บทความ
TPS คืออะไร? ทำความรู้จักบล็อกเชนที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม
เพราะ “ความเร็ว” เป็นสิ่งสำคัญที่นักพัฒนาเร่งอัปเกรดเพื่อให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงสุด บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักแต่ละบล็อกเชนและความเร็วในการทำธุรกรรมของแต่ละเครือข่ายว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ทำความรู้จัก TPS
TPS (Transactions Per Second) คือ อัตราที่ใช้วัดจำนวนการทำธุรกรรมใน 1 วินาที ความเร็วในการทำธุรกรรมนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล โดยเครือข่ายที่มีความเร็วในการทำธุรกรรมสูงกว่าย่อมส่งผลให้สกุลเงินดิจิทัลนั้นมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งหมายความว่ายิ่งความเร็วในการทำธุรกรรมของ Blockchains สูงขึ้นเท่าใด ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น แสดงถึงความสามารถในการรองรับการใช้งานเครือข่าย (Scalability) ความสามารถของเครือข่ายในการประมวลผลธุรกรรมแบบเรียลไทม์ และศักยภาพในการรองรับผู้ใช้ใหม่ในอนาคต
ความเร็วในการทำธุรกรรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น เวลาบล็อก ขนาดบล็อก ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม และทราฟฟิกของเครือข่ายด้วย
ตัวอย่างบล็อกเชนและความเร็วในการทำธุรกรรม
1. href="https://www.bitkub.com/th/blog/what-is-sol-dfb917933870">Solana (SOL) = 50,000 TPS
href="https://www.bitkub.com/th/blog/what-is-sol-dfb917933870">Solana สามารถรองรับธุรกรรมได้สูงถึง 50,000 ธุรกรรมต่อวินาที (Near Instant) ใช้เวลาในการสร้างบล็อกเพียง 400 มิลลิวินาทีต่อบล็อก href="https://www.bitkub.com/th/blog/what-is-sol-dfb917933870">Solana จึงเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่โดดเด่นด้านความเร็วในการทำธุรกรรม ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชนที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน
2. Fantom (FTM) — 25,000 TPS
Fantom สามารถรองรับธุรกรรมได้สูงถึง 25,000 ธุรกรรมต่อวินาที ด้วยรูปแบบการทำงานของ DAG (Directed Acyclic Graph) มีการเชื่อมต่อแต่ละบล็อกในเครือข่ายเป็นลักษณะคล้ายใยแมงมุม ขณะที่บล็อกเชนจะเป็นการเชื่อมต่อแบบเส้นตรง ต้องรอให้บล็อกก่อนหน้าได้รับการยืนยันก่อนจึงจะสามารถดำเนินการบล็อกถัดไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอีกเครือข่ายที่เคลมว่าใช้ความเร็วแบบ Almost Instant ด้วย
3. Cosmos (ATOM) — 10,000 TPS
Cosmos Network สามารถรองรับธุรกรรมได้มากกว่า 10,000 ธุรกรรมต่อวินาที เครือข่ายนี้วางบทบาทกำหนดให้ตัวเองเป็น “อินเทอร์เนตของบล็อกเชน” มีหน้าที่เชื่อมโยงกันระหว่างบล็อกเชนหลากหลายรูปแบบอย่างปลอดภัยเน้นการปรับแต่งและการทำงานร่วมกัน และมีเวลาสิ้นสุดเฉลี่ย 2–3 วินาที
4. Polygon (MATIC) — 7,000 TPS
Polygon สามารถรองรับธุรกรรมได้สูง 7,000 ธุรกรรมต่อวินาที เป็นบล็อกเชนที่พยายามปรับขนาดเครือข่ายให้สามารถรองรับโซลูชันที่หลากหลายรวมถึงโซลูชัน Layer 2 และ Sidechain ที่มี Throughput สูง (ตามทฤษฎีสูงได้ถึง 65,000) และยังให้การสนับสนุนด้านความปลอดภัยสำหรับบล็อกเชนอื่น ๆ และเชื่อมโยงเชนต่าง ๆ เข้ากับระบบนิเวศด้วย
5. Avalanche (AVAX) — 4,500 TPS
Avalanche Network สามารถรองรับธุรกรรมได้สูง 4,500 ธุรกรรมต่อวินาที นับว่าเป็นอีกหนึ่งในบล็อกเชนที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วเช่นเดียวกัน เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ Smart contract เพื่อพัฒนา DApps (Decentralized Applications) ถูกออกแบบมาให้มีความเสถียร ความเร็ว และความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับการใช้ในระดับองค์กรและสถาบันทางการเงินโดยเฉพาะ
6. Zilliqa (ZIL) — 1,000–2,500 TPS
Zilliqa สามารถรองรับธุรกรรมได้ 1,000–2,500 ธุรกรรมต่อวินาที มีแพลตฟอร์มบล็อกเชนของตัวเองที่คล้ายกับ Ethereum พัฒนาสัญญาอัจฉริยะของตัวเองที่เรียกว่า Scilla ซึ่งย่อมาจาก Smart Contracts Intermediary Level Language ที่สามารถจัดการธุรกรรมได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
7. Ripple (XRP) — 1,500 TPS (Up to 50,000)
Ripple สามารถรองรับธุรกรรมได้ 1,500 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งคาดว่าจะปรับขนาดได้สูงสุด 50,000 TPS เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการใช้บล็อกเชนแทนระบบการชำระเงินข้ามพรมแดน เช่น SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication)
8. Cardano (ADA) — 250 TPS
Cardano สามารถรองรับธุรกรรมได้ 250 ธุรกรรมต่อวินาที ใความเร็วในการทำธุรกรรมของ Cardano อาจไม่เร็วเทียบเท่ากับความเร็วในการทำธุรกรรมอื่นๆ แต่ก็มีความโดดเด่นในแง่ของความปลอดภัย การมีส่วนร่วมของชุมชน Cardano (ADA) เป็นบล็อกเชนกระจายอำนาจแบบ Open-source (ซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยแหล่งที่มา) สร้างขึ้นสำหรับแอปพลิเคชันสัญญาอัจฉริยะ เช่น แอป DeFi เกม โทเค็นการเข้ารหัสลับ และอื่น ๆ
9. Ethereum 2.0 = 100,000 TPS (Upcoming)
Ethereum สามารถรองรับธุรกรรมได้เพียง 30 ธุรกรรมต่อวินาที แต่ด้วยความที่ Ethereum 1.0 สามารถรองรับธุรกรรมได้เท่านี้ที่ทำให้เกิดความล่าช้า ทางผู้พัฒนาได้เร่งอัปเกรด Ethereum 2.0 และคาดหวังว่าหากการพัฒนานี้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์เมื่อไหร่ เครือข่ายนี้จะสามารถทำได้ถึง 100,000 รายการต่อวินาทีเลยทีเดียว
10. Bitcoin = 7 TPS
Bitcoin สามารถรองรับธุรกรรมได้สูง 7 ธุรกรรมต่อวินาที และใช้เวลานานถึง 30–60 นาทีเพื่อยืนยันการทำธุรกรรม เนื่องจาก Bitcoin ใช้ระบบที่ให้นักขุดช่วยกันตรวจสอบธุรกรรมที่ทำให้เครือข่ายกระจายตัวมากเพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยของเครือข่าย จึงต้องแลกมาด้วยระยะเวลาของการทำธุรกรรมที่สูง ซึ่งค่าธรรมเนียมก็สูงด้วย แต่ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จึงนำไปสู่การสร้างเครือข่ายและสกุลเงินที่แตกต่างกันมากมายที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรมได้สำเร็จ
การพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มอัตราการทำธุรกรรม (TPS) บนบล็อกเชนเป็นสิ่งที่ท้าทายของนักพัฒนาในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพิ่มขีดสามารถในการรองรับความต้องการของผู้ใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ วัน
นอกจากจะแข่งกันเรื่องความเร็วแล้ว แต่เป้าหมายที่สูงสุดจริง ๆ ที่นักพัฒนาหลายค่ายให้ความเห็นตรงกันนั้นก็คือ การทำให้บล็อกเชนมีความปลอดภัยสูงสุดด้วย จะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ใช้งานเกิดความมั่นในในการทำธุรกรรมให้มากขึ้น
อ้างอิง: Bitkub , makeuseof, bybit
_________________________________________
คำเตือน:
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต
_________________________________________
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่:
Blockchain คืออะไร เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกหรือเปล่า?
เทคโนโลยีบล็อกเชน มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร?
รู้จักกับเหรียญ SOL บล็อกเชนที่เร็วในระดับเสี้ยววินาที
ที่มา:
Medium