บทความ

ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน <br /> การโอน-รับเงินระหว่างประเทศของไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

image

ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเศรษฐกิจของโลกยุคปัจจุบันที่ไร้พรหมแดนของเรานั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดาๆ มากๆ ที่จะมีการติดต่อซื้อขายสินค้ารวมไปถึงการโอนเงินให้กันแบบข้ามโลกเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ดูเหมือนว่าหนึ่งในเหตุผลสำคัญให้ทำให้ผู้คนอาจค่อนข้างคิดไม่ตก คือ ‘ค่าธรรมเนียม’ นั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น บางคนมีธุระต้องโอนเงินอย่างเร่งด่วนไปให้ครอบครัวที่ค่างประเทศ แต่การจะโอนเงินไปได้นั้นต้องมีการติดต่อกับธนาคารและใช้ระยะเวลาในการดำเนินอย่าง อย่างน้อย 2–4 วันทำการ ซึ่งมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างแพงมากกกก ยกตัวอย่างเรทค่าธรรมเนียมในการโอนเงินไปต่างประเทศกับธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย

image

PayPal

Paypal เป็นระบบการชำระเงินอีกหนึ่งรูปแบบที่ทั้งง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพียงแค่เราใช้ E-mail และจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายเท่านั้น แต่ระบบการชำระเงิน Paypal ต้องมี บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตและโอนให้ได้เฉพาะคนที่มีบัญชีกับทาง Paypal เหมือนกันเท่านั้น

เมื่อซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ อาจมีการคิดค่าธรรมเนียมในการแปลงสกุลเงิน โดยทาง Paypal จะแสดงอัตราแลกเปลี่ยนให้ทราบทุกครั้ง ซึ่งค่าธรรมเนียมตรงส่วนนี้ทางร้านค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมให้เรา แต่ถ้าเป็นการชำระเงินที่มีการ “แลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่น”อัตราแลกเปลี่ยนจะรวมค่าธรรมเนียมนี้แล้วก่อนจะบวกเข้ากับยอดที่ซื้อ

image

แล้วการโอนเงินให้คนที่ต่างประเทศล่ะ?
น่าเศร้าที่คุณยังไม่สามารถโอนเงินก้อนให้ใครได้แบบเปล่าๆ ปลี้ๆ ด้วยระบบของ Paypal ปัจจุบันเครือข่ายการชำระเงินชื่อดังนี้ยังคงรองรับแค่การโอนจ่ายเงินระหว่างผู้ซื้อกับร้านค้า หรือ โอนจากบัญชี Paypal ของคุณเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกกับบัตร Visa ของคุณไว้เท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.paypal.com/th/webapps/mpp/ua/recpymt-full?locale.x=th_TH

image

บริการโอนเงินเวสเทิร์น ยูเนี่ยน

เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโอนเงินไปต่างประเทศที่ค่อนข้างได้รับความนิยมจากคนไทย โดยเวสเทิร์น ยูเนี่ยน ได้มีการเคลมบริการของเค้าไว้ว่า “สามารถโอนเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมงพร้อมค่าธรรมเนียมเริ่มต้นเพียง 99 บาท” โดยระยะเวลาทำการนั้นอยู่ที่ 0–2 วันเท่านั้น”
เรามาทดลองกรอกข้อมูลกันดีกว่า

image

จะเห็นว่า

หากโอนเงินให้ปลายทางโดยการโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับโดยตรง ระบบจะต้องใช้ระยะเวลาในการทำการถึง 1–3 วัน ขณะที่หากโอนเข้าบัญชี Western union ของผู้รับและให้ผู้รับไปรับเงินสดด้วยตัวเองที่สำนักงานตัวแทน จะได้ระยะเวลาในการทำการแค่ไม่กี่นาที

ผู้เขียนได้ทำการทดลองกรอกยอดเงินในการโอนไปที่ 300,000 บาทถ้วน จะเห็นว่าค่าธรรมเนียมในการโอนจะอยู่ 99.00 บาท หากเลือกโอนผ่านบัตรเครดิต/เดบิต หรือชำระเงินที่ตัวแทนของ WU ทุกสาขา (โดยหากคุณเลือกโอนเงินผ่านทางโอนผ่านเคาท์เตอร์บัญชีธนาคารจะมีค่าทำธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นอีก 16.05 บาท)

เรทค่าเงินที่จะโอนแปลงไปจะเป็นเรทของ Western Union ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามราคาตลาด โดยคุณผู้อ่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองก่อนการทำธุรกรรม

โอนเงินระบบ “SWIFT” กับธนาคาร

ระบบนี้ถือว่าเป็นระบบมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกต่างยอมรับ เพราะมีการใช้ SWIFT Code หรือ IBAN (International Bank Account Number) ที่มีรูปแบบมาตรฐานของรหัสธนาคาร ที่ใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศประกอบอยู่ด้วย โดยส่วนใหญ่จะมีให้บริการที่ธนาคารเพราะต้องโอนเข้าบัญชีเท่านั้น จึงทำให้ระบบการโอนเงินนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ นอกจากจะโอนไปบัญชีบุคคลแล้ว ยังสามารถโอนไปบัญชีนิติบุคคลได้ด้วย เช่น เวลาจ่ายค่าเทอมเข้ามหาวิทยาลัย หรือจ่ายค่าสินค้าไปยังบริษัทโดยตรง เป็นต้น

ส่วนค่าธรรมเนียมในการโอนจะถูกหรือแพงก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคารนั้นๆ บางธนาคารยังมีระบบ Online Baking ให้ลูกค้าสามารถโอนผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วย ค่าธรรมเนียมก็จะถูกกว่าการโอนผ่านเคาน์เตอร์สาขา แต่อาจจะจำกัดวงเงินในการโอน เช่น ไม่เกิน 50,000 USD หรือเทียบเท่า แต่ถ้าต้องการโอนมากกว่านั้นก็สามารถทำได้ที่สาขาธนาคารโดยไม่มีการจำกัดวงเงิน จะโอนมากเท่าไรก็ได้ ไม่มีผลต่อค่าธรรมเนียม (ยกเว้นสกุลเงิน JPY) ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการอยู่ที่ประมาณ 2–3 วันทำการ ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของแต่ละธนาคาร

ตัวอย่าง อัตราค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินผ่านระบบ SWIFT ของบางธนาคารต่างๆ ในไทย

image
image

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Other-Services/Transfers/Transferring-Out-of-Thailand

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

image
image

ข้อมูลจาก https://www.ktb.co.th/th/personal/cash-management/payment-transfer/60

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

image
image

ข้อมูลจาก https://www.gsb.or.th/services/foreignexchange

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

image
image

ข้อมูลจาก https://kasikornbank.com/outward

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

image
image

ข้อมูลจาก https://www.krungsri.com/bank/th/PersonalBanking/BankingServices/InternationalRemittanceServices/KrungsriOnlineInternationalRemittance.html

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

ระบบโอนเงิน “MONEYGRAM”

ระบบโอนเงินแบบ MoneyGram เป็นระบบการโอนเงินคล้ายๆ กับของ Western Union โดยมีสาขาที่ให้บริการมากกว่า 300,000 แห่งทั่วโลก
โดยมีวิธีการโอนที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว สามารถรับเงินโอนได้เร็วสุดภายใน 10 นาที! เหมาะกับการโอนเงินจำนวนไม่มาก เช่น จำนวนเงินไม่เกิน 10,000 USD (หรือประมาณ 303,400 บาท) เพราะในบางประเทศผู้รับเงินจะมีเงื่อนไขจำกัดเรื่องวงเงินในการรับเงินอยู่ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมการโอนเงินด้วยระบบ MoneyGram นั้นค่อนข้างแพง สืบเนื่องมาจากเรทค่าเงินที่ให้บริหารแลกเปลี่ยนในเว็บไซต์นั้นค่อนข้างมีส่วนต่างที่เลวร้ายเมื่อเทียบกับราคาของชาวโลก ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ

image

ภาพนี้คือเรทราคาของค่าเงินบาทกับดอลล่าร์สหรัฐ (ณ วันที่ 11/11/2019) จะเห็นได้ว่าเรทอยู่ที่ 30.34 บาทโดยประมาณ ภาพจาก https://th.investing.com/currencies/usd-thb-converter

และภาพด้านล่างนี้คืออัตราการแลกเปลี่ยนในหน้าเว็บไซต์ของ Moneygram โดยตรง

image

ภาพจาก https://www.moneygram.com/mgo/us/en/ สืบค้นเมื่อวันที่ 11/11/2019

จะเห็นได้ว่าเงิน 10,000 USD จากที่มีมูลค่าโดยประมาณ ประมาณ 303,400 บาท จะเหลือมูลค่าถึงมือผู้รับเพียง 288,515 บาท! เนื่องจากเรทค่าเงินบาทจาก Moneygram นั้นอยู่ที่ 28.8515 THB/USD เท่านั้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นมาดูในส่วนของค่าธรรมเนียมกันบ้าง

หากคุณโอนเงินผ่านทางช่องทางของธนาคารค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 1.99 ดอลล่าร์ (60.38 บาท) จะใช้ระยะเวลา 3–4 วันทำการโดยประมาณในการโอนเงิน

หากคุณโอนเงินโดยใช้เดบิต/เครดิตการ์ดโอนให้โดยตรง ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 104.99 ดอลล่าร์ (3,185.9 บาท) แต่จะใช้เวลาในการทำธุรกรรมเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

ทีนี้มาดูเรทราคาหากเราทำธุรกรรมผ่าน Cryptocurrency จากงข่าวที่น่าสนใจสนใจกันบ้าง เช่น ทางหน้าเว็บไซต์ข่าวชื่อดังของชาวคริปโตเมืองไทย “Siam Blockchain” ได้เผยว่า
เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2019 ว่าได้มีการแชร์ข้อมูลของวาฬที่โอนถ่ายเหรียญ XRP จำนวนมหาศาลไปยังอีก account นึง ดังนี้

image

“ดูเหมือนว่าจะมีข้อมูลจาก Whale Alert เผยว่าเผยว่า มี XRP เคลื่อนย้าย XRP จาก Wallet สำหรับ OTC ของ Ripple ไปยังลูกค้าระดับสถาบันที่ได้ทำการซื้อไป เป็นการทำธุรกรรมจำนวนทั้งหมด 7 ครั้งด้วยกัน โดยจำนวนมี XRP ทั้งหมด 2,133,569,088 XRP ถูกเคลื่อนย้ายไประหว่างวอลเล็ต ซึ่งมีมูลค่าโดยรวมกว่า 755,702,929 ดอลลาร์ หรือประมาณ 24,454,546,782 บาท โดยใช้เวลาเพียง 4 วินาทีเท่านั้น”

เรียกได้ว่าทั้งอัตราค่าธรรมเนียมและระยะเวลาในการทำธุรกรรมนั้นสามารถตบคู่ต่อสู้ทางด้านบนตกขอบเวทีได้อย่างได้อย่างขาดลอยเลยทีเดียว นอกจากนี้บล็อกเชนของเหรียญดิจิทัลที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการธุรกรรมจำนวนมหาศาล เช่น XLM หรือ Ripple blockchain ของ XRP นั้น ค่อนข้างขึ้นชื่อเรื่องความรวดเร็วเที่ยงตรงพร้อมกับค่าธรรมเนียมที่ต่ำติดดินสุดๆ อยู่แล้ว ธนาคารหลายแห่งทั่วโลกก็เริ่มเล็งเห็นถึงศักยภาพของระบบบล็อกเชนประเภท Payment เหล่านี้และเริ่มนำมาปรับใช้กับระบบธนาคารของตัวเองบ้างแล้ว

โดยเริ่มต้นมักจะเป็นการนำระบบบล็อคเชนเหล่านี้มาปรับใช้กับการโอนเงินระหว่างธนาคารในเครือสาขาต่างๆ ของตน และเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นเป็นการทำธุรกรรมข้ามประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวของธนาคารไทยพานิชย์ที่เพิ่งมีการประกาศการพัฒนาที่เพิ่งเกิดขึ้นไปอีกก้าว

image

“โดยทาง SCB ได้โชว์การทดสอบโอนเงินผ่านระบบบล็อกเชนจากแอพ SCB EASY จากไทย-อังกฤษ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 40 วินาทีเท่านั้น”

สิ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับประเทศไทยที่ทางธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เข้ากับระบบ ซึ่งในอนาคตหากการพัฒนาประสบความสำเร็จด้วยดีและมีการเปิดให้ผู้ใช้สามารถโอนเงินให้กันได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ย่อมเป็นผลดีต่อผู้ใช้งานทั้งสิ้น รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจที่ไร้พรหมแดนได้ในอนาคต ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีข่าวที่น่าสนใจอะไรเกิดขึ้นอีกในอนาคตสำหรับวงการการเงินบ้านเราหรือไม่

นอกจากนี้หากท่านใดกำลังมองหาสกุลเงินดิจิทัลเหรียญแรกมาไว้ในครอบครอง ท่านสามารถเริ่มต้นทดลองเทรดได้ที่กระดานเทรด Bitkub.com ของเรา ซึ่งกระดานเทรดของเรานั้นได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง พร้อมทีมงาน support มืออาชีพที่พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมงครับ

image

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Minyarinn Chaotrakul | 12 ธ.ค. 64 | อ่าน: 2,965
บทความล่าสุด