บทความ

ภาคเอกชนไทยและภาครัฐตื่นตัวเริ่มใช้ บล็อกเชน — งาน Blockchain Summit For Development Goals ร่วมจัดโดย Bitkub.com

image

สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ร่วมกับ“บิทคับ” จับมือภาครัฐและเอกชน จัดประชุมสัมมนาวิชาการ ใหญ่“สุดยอดบล็อกเชนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เชิญองค์กรบล็อกเชนยุโรปและอาเซียนมาให้ความรู้ ชี้ให้เห็นถึงก้าวหน้าของเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่กำลังเข้ามามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคน รวมทั้งวงการสื่อมวลชนใช้ตรวจสอบ“ข่าวลวง”หรือ Fake News ได้ด้วย

เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2561 เวลา 09.30 น. สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ร่วมกับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ในฐานะประธานเครือข่ายบล็อกเชนในประเทศไทย จับมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เครือข่ายยูโรเปียนบล็อคเชนฮับ (European Blockchain Hub) และองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงผลกำไร ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ“สุดยอดบล็อคเชนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Blockchain For Sustainable Development Goals Tour Summit 2018/19) เพื่ออัพเดทความรู้บล็อคเชนโลกจากกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา อาเซียน พร้อมกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ประยุกต์ใช้ได้ผลจริง ให้กับกลุ่มผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทย ให้สามารถรับมือกับวิกฤตพลวัตที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทยและเพื่อให้สามารถดึงศักยภาพของเทคโนโลยีบล็อคเชนมาสร้างรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการได้ตรงตามความต้องการของประชาชนได้ทัน โดยมีนายดำฤทธิ์ วิริยะกุล เลขาธิการสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน นายชวรงค์ ลิมปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายปราเมศร์ เหล็กเพชร ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมงานด้วย

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตัล กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (BCGH) ประธานเครือข่ายบล็อกเชนในประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของงานประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติสุดยอดบล็อคเชนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้น “Blockchain For Sustainable Development Goals Tour Summit 2018/19” ว่า “จัดขึ้นโดยเครือข่ายยูโรเปียนบล็อกเชนฮับ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนจากประเทศยุโรปและเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 20 ประเทศ ทั้งในระดับรัฐบาลและเอกชน อันประกอบด้วย อังกฤษ ลักเซมเบิร์ก สเปน โปแลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย สวีเดน สโลวีเนีย ในภาคพื้นยุโรป และ อินโดนีเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เกาหลี อินเดีย โดยประเทศไทยได้รับการรับรองและแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ โดยมี BCGH เป็นประธานเครือข่ายในประเทศไทย

การสัมมนาครั้งนี้ มีหัวข้อการสัมมนาที่เข้มข้นมากมาย ได้แก่ 1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในภาคพื้นประเทศยุโรปสู่เอเชีย และในประเทศไทย (Blockchain Technology Success Case Sharing from Europe to Asia & Thai) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จและการประยุกต์ใช้บล็อกเชนเทคโนโลยีในยุโรป เอเชีย และไทย เพื่อให้การบริหารงานในภาครัฐและเอกชนในวงกว้างตั้งรับได้ทันกับคลื่นปฏิวัติเทคโนโลยีบล็อกเชนใน้วงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเงินธนาคาร, ขนส่งโลจิสติคส์, การค้า ทรัพยากรบุคคล ซึ่งคุณแอนจา บลาจ ผู้แทนเครือข่ายยูโรเปียนบล็อคเชนฮับได้ยกตัวอย่างขององค์กรในยุโรปและเอเชียที่เริ่มใช้งานบล็อกเชนในส่วนต่างๆ สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2019.

2.เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนา และช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศได้อย่างไร (How Blockchain Technology can enable National Growth & Support National Infrastructure) นำโดยเนื้อหาด้านผลประโยชน์ของการเชื่อมโยงบล็อกเชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติในทวีปยุโรป จากมุมมองของ คุณเร็กซ์ ยีพ สมาชิกก่อตั้งยูโรเปียนบล็อกเชนฮับ และการเตรียมตัวของภาครัฐและเอกชนเมื่อมีนโยบายการใช้บัตรประชาชนกับบล็อกเชน โดย ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ได้กล่าวถึงผลกระทบฟินเทคและข้อมูลความปลอดภัยทางไซเบอร์ นอกจากนี้บล็อกเชนยังกระทบต่อวงการสื่อด้วย โดย คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BCGH กล่าวถึงทางออกและผลสะท้อนของต่อวงการสื่อสารมวลชน โฆษณาและการรับรู้ของประชาชนอย่างไร.

3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน — บล็อกเชนเพื่อใช้ในการรับรองความถูกต้อง (Blockchain Practical Case — Blockchain for Authentication) การยืนยันความถูกต้องและที่มาของสิ่งของที่มีมูลค่า เช่น เอกสารสำคัญ เอกสารแสดงตัวตน สิ่งของมีค่า เวชภัณฑ์ สินค้า เครื่องสำอาง โดย คุณอำนาจ บุญขวัญ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บมจ. ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง ได้แบ่งปันความรู้เรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเกิดการพิสูจน์ อัตลักษณ์ของคน เอกสาร สิ่งของ และสินค้า โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนได้แล้ว.

4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน — ในงานราชการ (Blockchain Practical Case — Government Sector) เจาะลึกการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนภาครัฐในสหภาพยุโรป สู่การใช้งานในประเทศไทย โดยในการเสวนาได้มีการนำกรณีศึกษาจากหลายประเทศในสหภาพยุโรปมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในงานราชการไทยได้อย่างไร.

5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน — ยกระดับเศรษฐกิจการค้า ในธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญา และ การติดตามที่มาของสินค้า (Blockchain Application in new era of Trade; Trade Finance, Intellectual Property and Traceability) เปิดโลกบล็อกเชนในบริการธุรกิจการค้าต่างประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญา และการค้ายุคใหม่ โดย ดร. สมนึก คีรีโต ที่ปรึกษา กระทรวงพาณิชย์ และผู้อำนวยการ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาพร้อมกับ คุณดาววิภา ลี้กำจร ผู้อำนวยการกลุ่มงานเศรษฐกิจใหม่ สำนักงานนโยบายเเละยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมชี้แจงโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจแนวทางของรัฐบาลและกระทรวงในการประยุกต์ใช้ในการยกระดับเศรษฐกิจการค้า

6.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน — การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการศึกษา กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เคบีทีจี (Blockchain Application in education; case study Chulalongkorn University and KBTG) การเปิดเผยครั้งแรกของการใช้บล็อกเชนในองค์กรการศึกษาขนาดใหญ่ โดย คุณโภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณสิริวัฒน์ เกษมวัฒนาโรจน์ Advance Visionary Architect กสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป (เคบีทีจี) กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการศึกษาได้ เพื่อเป้าหมายสู่การขับเคลื่อนภาคธุรกิจและภาครัฐที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

นายพันธุิ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานและหลายองค์กร นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใชในหลายด้าน แต่บางเรื่องยังติดขัดเรื่องกฎหมายอยู่ภาครัฐคงต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป

ด้านนายเทพชัย หย่อง ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน กล่าวว่า บล็อกเชนถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการสื่อมชนในประเทศไทยและอาเซียน ที่ควรให้ความสำคัญ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน์จึงได้เข้าร่วมจัดการสัมมนาครั้งนี้ด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงความก้่าวหน้าของเทคโนโลยีบล็อกเชนในภูมิภาคนี้ โดยมีสื่อมวลชนไทยรวมทั้งจากลาวและกัมพูชามาร่วมสัมมนาด้วย นอกจากนี้จากการสัมมนายังได้ทราบว่าที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา มีการนำบล็อกเชนมาใช้ในบางหน่วยงานแล้ว ส่วนในประเทศไทยภาคเอกชนยังนำหน้าในเรื่องนี้ ขณะที่ภาครัฐให้ความสนใจที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่นกัน และในอนาคตวงการสื่อมวลชนสามารถนำบล็อกเชนมาช่วยในการตรวจสอบข่าวลวงหรือ Fake News ได้ด้วย

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: bitkub.com | 07 ธ.ค. 64 | อ่าน: 1,122
บทความล่าสุด